Maleic acid

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
        ชื่อเคมี IUPAC  Maleic acid

        ชื่อเคมีทั่วไป    Cis-1,2-ethenedicarboxylic acid

        ชื่อพ้องอื่นๆ    Cis-butenedioic acid; Toxilic acid; 2-Butenedioic acid; Malenic Acid; 2-Butenedioic acid (Z)-; (Z)-butenedioic acid; (Z)-1,2-ethenedicarboxylic acid; Maleinic acid; (Z)-2-butenedioic acid; Cis-2-butenedioic acid; Cis-ethene-1,2-dicarboxylic acid; (Z)-but-2-ene-1,4-dioic acid; Cis-maleic acid;

        สูตรโมเลกุล      C4H4O4

        สูตรโครงสร้าง   สไลด์31

        รหัส IMO     –

        CAS No.        110-16-7

        รหัส EC NO.  607-095-00-3

        UN/ID No.      3261               

        รหัส RTECS    OM 9625000

        รหัส EUEINECS/ELINCS        203-742-5

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า  J.T. BAKER INC.

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ  –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 110-16-7         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ :  ไม่ระบุไว้
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 708 (หนู) (มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :   > 720/ 1 ชั่วโมง(หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :   –

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :      –

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :      –

        TLV-STEL(ppm) :      –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :     –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :      เฉลี่ย 8 ชั่วโมง : สารเคมีอันตราย

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           –

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :           –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ผลึก

        สี : ขาว

        กลิ่น : กรดอ่อน

        นน.โมเลกุล :  116.08

        จุดเดือด(0ซ.) :  135

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 130

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.59

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :  4.0

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  < 0.076ที่ 20 0ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  79ที่ 250ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  4.75

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.29 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ : อุณหภูมิสลายตัวที่ > 135 องศาเซลเซียส         

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ : การหายใจเอาสารเคมีเข้าไปจะเกิดฤทธิ์กัดกร่อนทำลายเนื้อเยื่อเมือกและทางเดินหายใจ ทำให้เกิดแผลไหม้ การหายใจติดขัด กล่องเสียงอักเสบ คอแห้ง เจ็บคอ ไอ และหายใจ ลำบาก หายใจถี่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้และ อาเจียน

        สัมผัสทางผิวหนัง : การสัมผัสถูกผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคือง อาจจะดูดซึมผ่านผิวหนัง

        กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนกินเข้าไปจะก่อให้เกิดอันตราย ก่อให้เกิดอาการเจ็บคอ คลื่นไส้ และอาเจียน

        สัมผัสถูกตา : การสัมผัสถูกตา ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาอย่างรุนแรงกับผื่นแดง และเจ็บปวดทำให้เกิดแผลไหม้ที่ตาและถูกทำลายอย่างถาวร

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ : สารนี้มีผลทำให้กระพาะอาหารอักเสบ และมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียรภายใต้สภาวะปกติของการใช้และการเก็บ

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดซ์รุนแรง

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน การเกิดฝุ่น และสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ จะเกิดความร้อนทำให้สลายตัว

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : ไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :           100

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  –

        ค่า LEL % :    

        UEL % :                

        NFPA Code :   310

         สารดับเพลิง : ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย สารเคมีแห้ง แอลกอฮอล์โฟม คาร์บอนไดออกไซด์

                – ความเข้มข้นเพียงพอของฝุ่นละเอียดที่แพร่กระจายในอากาศ และมีแหล่งจุดติดไฟเข้าไปทำให้เกิดการระเบิดจากฝุ่นได้

                – ไฟ : เกิดกับของแข็งอินทรีย์มากที่สุด เพลิงไหม้อาจเกิดขึ้นได้เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นหรือสัมผัสกับแหล่งจุดติดไฟ

                – ในเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ ควรสวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัวพร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดแน่น

                – เก็บในที่ที่เย็น แห้ง  และมีการระบายอากาศป้องกันการเสียหายทางกายภาพ

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บแยกออกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

                – หลีกเลี่ยงการเกิดฝุ่นขึ้น และควบคุมแหล่งจุดติดไฟ

                – การใช้สายดิน การจัดเตรียมอุปกรณ์ระบายไอและลิ้นระบายป้องกันการระเบิดที่ยอมรับทางวิศวกรรมในกระบวนการผลิตที่สามารถทำให้เกิดฝุ่นและ/หรือไฟฟ้าสถิตย์

                – ใช้ในก๊าซเฉื่อยหรืออากาศที่ไม่ไวไฟเท่านั้น

                – ในอากาศที่ไม่ใช่ก๊าซเฉื่อย ไอของสารจะไวไฟ และทำให้เกิดประกายไฟ การระเบิด เกิดจากประจุไฟฟ้าสถิตย์

                – ภาชนะบรรจุของสารนี้จะเป็นอันตรายเมื่อถังเปล่ามีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่น หรือของแข็ง

                – สังเกตคำเตือนทั้งหมดและข้อควรระมัดระวังที่ระบุไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง 

                ชื่อในการขนส่ง : Maliec Acid Hazard

                ประเภทอันตราย : 8

                หมายเลข UN : 2215

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม III

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : 12 กิโลกรัม

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
        – วิธีการเมื่อเกิดอุบัติเหตุสารเคมีหกรั่วไหล ให้เคลื่อนย้ายจากบริเวณที่หกรั่วไหลและให้ตัดแหล่งจุดติดไฟทั้งหมดออก

        – ระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – ทำความสะอาดส่วนที่หกรั่วไหลเพื่อไม่ให้ฝุ่นแพร่กระจายไปในอากาศ

        – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่เกิดประกายไฟ

        – เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่มีฝาปิด เพื่อนำไปแปรรูปใช้ใหม่หรือนำไปกำจัด

          การพิจารณาการกำจัด : ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ควรถูกจัดการเป็นกากของเสียอย่างเหมาะสม การใช้หรือการปนเปื้อนของสารนี้จะต้องเปลี่ยนแนวทางในการจัดการของเสีย กฎ ระเบียบข้อบังคับของรัฐและท้องถิ่นจะแตกต่างจากกฎระเบียบการกำจัดของรัฐบาลกลาง การจัดการกับภาชนะบรรจุที่มิได้ใช้แล้ว จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย ส่วนกลางของท้องถิ่น

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) :

                – การเลือกประเภทถุงมือ : แนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Nitrile ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Unsupported Neoprene ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Natural Rubber ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Polyvinyl Chloride ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Neoprene/Natural Rubber Blend ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำจากวัสดุประเภทไวนิล ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปสู่ที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าผู้ป่วยหายใจลำบาก ให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ให้ล้างบ้วนปากด้วยน้ำ นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังให้ฉีดด้วยน้ำปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที ให้ถอดและล้างเสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมี รองเท้าที่เปรอะเปื้อนให้ทิ้งไปเลย นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตาให้ล้างตาโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมกระพริบตาถี่ๆ ขณะทำการล้าง ส่งไปพบแพทย์โดยทันที

         อื่นๆ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

– เมื่อรั่วไหลสู่ดิน สารนี้คาดว่าจะถูกชะล้างลงสู่น้ำใต้ดิน

– เมื่อรั่วไหลลงสู่ดิน สารนี้คาดว่าจะสลายตัวทางชีววิทยาได้ง่าย

– เมื่อรั่วไหลลงสู่น้ำ สารนี้คาดว่าจะสลายตัวทางชีววิทยาได้ง่าย

– เมื่อรั่วไหลลงสู่น้ำ สารนี้ไม่สามารถคาดได้ว่าจะระเหยได้

– เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ สารนี้คาดว่าจะคงอยู่ในสภาวะแอโรซอลและจะสลายตัวไปครึ่งหนึ่ง ( half tyle ) ในช่วงสั้นๆ

– เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ สารนี้ไม่สามารถคาดว่าทำให้เกิดการตกตะกอนแบบเปียกได้

– เมื่อรั่วไหลลงสู่อากาศ สารนี้ไม่สามารถสลายตัวได้โดยทำปฏิกิริยากับโอโซนและปฏิกิริยาเมื่อถูกแสงจะทำให้เกิดไฮดรอกซิลเรดิคอล

– สารนี้ไม่สามารถคาดได้ว่าจะสะสมสิ่งมีชีวิตได้

– สารนี้มีค่าตัวประกอบความเข้มข้นทางชีวภาพ ( BCF ) โดยประมาณน้อยกว่า 100 ความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม TLm / Fathead minnow / 5 หน่วยต่อล้านหน่วย / 96 ชั่วโมง. / น้ำสด TLm / Mosquito ปลา / 240 หน่วยต่อล้านหน่วย / 24-48 ชั่วโมง. / น้ำสด

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  –

        OSHA NO. :    –

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      –

        วิธีการวิเคราะห์ :         –

        ข้อมูลอื่น ๆ :  –

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          –

        DOT Guide :            154

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557