Maleic anhydride

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
        ชื่อเคมี IUPAC  Cis-butenedioic anhydride

        ชื่อเคมีทั่วไป    Maleic anhydride

        ชื่อพ้องอื่นๆ    2,5-Furanedione; 2,5-Furandione; Toxilic anhydride; Maleic Acid Anhydride; Lytron 810; Lytron 820; 2,5-Dihydro-2,5-dioxofuran; Cis-Butenedioic acid anhydride; MA; Maleic anhydride

        สูตรโมเลกุล      C4H2O4

        สูตรโครงสร้าง   สไลด์32

        รหัส IMO     12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.        108-31-6

        รหัส EC NO.  607-096-00-9

        UN/ID No.      2215            

        รหัส RTECS    ON 3675000

        รหัส EUEINECS/ELINCS        203-571-6

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า  –

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ  –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 108-31-6         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นสารเติมแต่งในพลาสติก
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 400(หนู) (มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :   –

        IDLH(ppm) :  2.5(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :      0.25(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :      0.25(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :      –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :     –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :      เฉลี่ย 8 ชั่วโมง : สารเคมีอันตราย

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           –

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :           –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ผลึก

        สี : ขาว

        กลิ่น : กลิ่นฉุนรุนแรง

        นน.โมเลกุล :  98.06

        จุดเดือด(0ซ.) :  202

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 53

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.48

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :  –

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  0.16 ที่ 200ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  16.3ที่ 250ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  3.38

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  4.01

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.25 ppm ที่250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :     –

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ : การหายใจเอาไอระเหยของสารนี้เข้าไป จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูกและลำคอ ทำให้เกิดอาการไอ จาม เจ็บคอ หายใจติดขัด และเกิดแผลไหม้บริเวณลำคอ

        สัมผัสทางผิวหนัง : การสัมผัสถูกผิวหนัง สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน อาจทำให้เกิดแผลไหม้บนผิวหนัง หากสัมผัสถูกสารนี้เป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดผื่นแดง แผลพุพองหรือแผลไหม้

        กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนหรือกินเข้าไป สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้อักเสบที่ลำคอ เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน เจ็บคอ และทำให้เกิดแผลไหม้ในระบบทางเดินอาหาร

        สัมผัสถูกตา : การสัมผัสถูกตา ฝุ่นหรือไอของสารนี้อาจทำให้เกิดแผลไหม้บริเวณดวงตา ตาบวม ตาแดง อาจทำให้ปวดตามีความไวต่อแสงและทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ สารนี้อาจทำให้หลอดลมอักเสบและผิวหนังอักเสบได้ สารนี้จัดเป็นสารก่อมะเร็งตามบัญชีรายชื่อของ IARC และ NTP

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียรภายใต้สภาวะการใช้และการเก็บปกติ สารนี้สามารถระเหิดกลายเป็นไอได้ง่าย และเกิดสลายตัวอย่างช้า ๆ เมื่อสัมผัสกับน้ำกลายเป็นกรดมาลิอิก(Maleic acid) เมื่อละลายน้ำจะให้กรดแก่เกิดขึ้น

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : โลหะอัลคาไลด์ โลหะเอมีน ดินอัลคาไลด์ จะเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับเบส การสัมผัสกับสารออกซิไดซ์จะทำให้เกิดเพลิงไหม้และการระเบิด

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความชื้น ความร้อน เปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟและสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : คาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : ไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :           102

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  477

        ค่า LEL % :     1.4

        UEL % :        7.1     

        NFPA Code :   311

         สารดับเพลิง : ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ ให้ใช้ คาร์บอนไดออกไซด์ แอลกอฮอล์โฟม ห้ามใช้ผงเคมีดับเพลิงหรือการฉีดน้ำเป็นลำตรงในการดับเพลิง

                – สารนี้เป็นของแข็งติดไฟได้

                – ส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศสามารถเกิดการระเบิดได้ภายใต้ขีดจำกัดค่าไวไฟที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดวาบไฟ

                – ในกรณีการเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA)พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดเมื่อไม่ได้ใช้งาน

                – เก็บในที่ที่เย็น แห้ง และมีการระบายอากาศในพื้นที่ดี

        สถานที่เก็บ :

                – การเก็บจะต้องมีการป้องกันเสียหายทางกายภาพ

                – เก็บแยกออกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

                – หลีกเลี่ยงการเกิดฝุ่นและควบคุมแหล่งจุดติดไฟ

                – จัดให้มีการใช้สายดิน การจัดเตรียมอุปกรณ์ระบายไอและลิ้นระบายป้องกันการระเบิดที่ยอมรับทางวิศวกรรมในกระบวนการผลิตที่สามารถทำให้เกิดฝุ่นหรือไฟฟ้าสถิตย์

                – สารนี้สามารถก่อให้เกิดประกายไฟหรือการระเบิดเนื่องจากไฟฟ้าสถิตย์

                – ห้ามนำถังบรรจุกลับมาใช้ใหม่

                – ภาชนะบรรจุของสารนี้ที่เป็นถังเปล่าแต่กากสารเคมีที่ตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่นหรือของแข็ง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้

                – ให้สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ระบุไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง 

                ชื่อในการขนส่ง : Maleic Anhydride

                ประเภทอันตราย : 8

                หมายเลข UN : 2215

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม III

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
        – วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุกรณีรั่วไหล ให้เคลื่อนย้ายแหล่งของการจุดติดไฟทั้งหมดออกไป

        – ให้อพยพคนที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – จัดให้มีการระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล และให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – เก็บส่วนที่หกรั่วไหลใส่ในภาชนะบรรจุปิดมิดชิดเพื่อนำไปแปรรูปใหม่หรือนำไปกำจัด

        – ทำความสะอาดส่วนที่หกรั่วไหลเพื่อไม่ให้เกิดฝุ่นแพร่กระจายไปในอากาศ

        – ให้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ ลดฝุ่นในบรรยากาศและป้องกันการกระจายโดยการทำให้ชื้นด้วยน้ำ

        การพิจารณาการกำจัด : สารที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย จะต้องนำไปกำจัดเป็นกากของเสียอันตรายตามกฎเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n12309022_10207269202381814_1401123889_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) :

                – ข้อแนะนำในการเลือกประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

                – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 15 mg/m3 : u6 u4 = 25 หรือ u11 พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า u4 = 50 หรือ u5 พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า u4 = 50

                – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

                – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister สำหรับป้องกันก๊าซของสารจำพวกกรด และอุปกรณ์กรองอนุภาคประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ให้กระตุ้นให้เกิดการอาเจียนโดยทันทีโดยบุคลากรทางการแพทย์ และห้ามไม่ให้นำสิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติอยู่

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำและสบู่ปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก และให้ล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมกับกระพริบตาถี่ๆขณะทำการล้าง นำส่งไปพบแพทย์ทันที

         อื่นๆ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                  – ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

                  – อาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์หากมีการจัดการหรือกำจัดอย่างไม่เหมาะสม

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  3512

        OSHA NO. :   25 , 86

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      –

        วิธีการวิเคราะห์ :       แก๊ซโครมาโตกราฟฟี           

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – วิธีเก็บตัวอย่างให้ใช้ Bwbbler

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 0.2 ถึง 1.5 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด 40 ลิตร , 500 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          41

        DOT Guide :            156

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557