Sodium azide

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
        ชื่อเคมี IUPAC  Sodium azide

        ชื่อเคมีทั่วไป  Azium

        ชื่อพ้องอื่นๆ    Smite; Hydrazoic acid, sodium salt; U-3886; Sodium azide ;

        สูตรโมเลกุล    NaN3

        สูตรโครงสร้าง   สไลด์56

        รหัส IMO     12305967_10207256021172292_1807016644_n12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.      26628-22-8

        รหัส EC NO.  011-004-00-7

        UN/ID No.  1687

        รหัส RTECS    VY 8050000

        รหัส EUEINECS/ELINCS        247-852-1

        ชื่อวงศ์                 J.T Baker.Inc

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า –

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ  –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                26628-22-8         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้ในขบวนการผลิตดอกไม้ไฟ ถุงลมนิรภัย อุปกรณ์ความปลอดภัยของรถยนต์
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) :    27 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :       –

        IDLH(ppm) :           –

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :      –

        PEL-STEL(ppm) :    –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :    0.11(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :    –

        TLV-C(ppm) :     0.1(ppm)

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :     –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :      เฉลี่ย 8 ชั่วโมง : สารเคมีอันตราย

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :       –

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :       –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ :  ผลึก

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น :  ไม่มีกลิ่น

        นน.โมเลกุล :  65.02

        จุดเดือด(0ซ.) :  –

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) :   275

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :    1.85

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) : 2.2

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  –

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  72 ที่ 20 0ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =   2.659

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =   0.516 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :    อุณหภูมิสลายตัว > 275 องซาเซลเซียส

                – สารนี้สามารถละลายได้ในแอมโมเนียเหลว แต่ไม่สามารถละลายในอีเธอร์

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ :  การหายใจเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคือง ระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุทางเดินหายใจ แผลที่ลำคอ ไอ จาม หายใจถี่ อ่อนเพลีย หมดสติ

        สัมผัสทางผิวหนัง : การสัมผัสถูกผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคือง รอยแดง และรู้สึกเจ็บ และมีอาการคล้ายกับการกินเข้าไปเพราะสารนี้สามารถซึมผ่านผิวหนังได้

        กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนกินสารนี้เข้าไป ทำให้หายใจติดขัด ปอดบวม ชีพจรเต้นถี่ขึ้น คลื่นเหียน อาเจียน ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย, และท้องร่วงภายใน 15 นาที อาการอื่นเช่น ความดันเลือดต่ำ หายใจผิดปกติ อุณหภูมิของร่างกายลดลง ค่า pH ของร่ายกายลดลง มีอาการหดเกร้งของกล้ามเนื้ออยางรุนแรง ล้มฟุบ หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสสารนี้ทางตา ก่อให้เกิดการระคายเคือง ผื่นแดง เจ็บปวด ทำให้การมองเห็นพล่ามัว ไม่ชัด

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ การได้รับสารนี้จะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ไต และระบบเลือดหัวใจและหลอดเลือด

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว :  สารนี้มีความเสถียรภายใต้สภาวะปกติของการใช้และการเก็บ สลายตัวเกิดการระเบิดได้ เมื่อได้รับความร้อน การสั่น ถูกกระทบกระแทกหรือการเสียดสี

        สารที่เข้ากันไม่ได้ :  เบนโซอิลคลอไรด์ผสมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ โบรมีน คาร์บอนไดซัลไฟด์ โครมิสคลอไรด์ (Chromyl chloride) ทองแดง ไดโบรมาโลโนไนไตร (Dibromalononitrile) ไดเมทิลซัลเฟต ตะกั่ว แบเรียมคาร์บอเนต กรดกำมะถัน น้ำ และกรดไนตริก

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง :  ความร้อนเปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟ และสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว :   การระเบิดจะขึ้นกับการสลายตัวของสารที่ปล่อยก๊าซไนโตรเจน (N2) และโซเดียม (Na)

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ :  ไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :          –

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  –

        ค่า LEL % :     –

        UEL % :        –    

        NFPA Code :   313

         สารดับเพลิง : ฉีดน้ำให้เป็นฝอย สารเคมีแห้ง แอลกอฮอล์โฟม หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

                – เป็นของแข็งที่ติดไฟ จะเกิดเพลิงไหม้เมื่อได้รับความร้อน

                – ในเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ : ให้สวมใส่อุปกรณ์หายใจชนิดมีถังอากาศ (SCBA) และชุดป้องกันสารเคมีสัมผัสผิวหนังและตา

                – ฉีดน้ำให้เป็นฝอยสามารถใช้ควบคุมหล่อเย็นภาชนะที่ถูกเพลิงไหม้

                – เมื่อเกิดเพลิงไหม้สารนี้จะทำให้เกิดก๊าซพิษออกมารวมทั้งไนโตรเจนออกไซด์

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :  

                – เก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในที่ที่เย็นและแห้ง มีการระบายอากาศในพื้นที่

        สถานที่เก็บ

                – เก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน หรือแหล่งจุดติดไฟ และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด

                – ป้องกันภาชนะบรรจุเสียหายทางกายภาพ

                – แยกเก็บออกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ภาชนะบรรจุของสารนี้จะเป็นอันตรายเมื่อเป็นถังเปล่าเนื่องจากมีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่น ของแข็ง

                – ให้สังเกตคำเตือนทั้งหมดและข้อควรระมัดระวังที่ระบุไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง 

                ชื่อในการขนส่ง : โซเดียมแอไซด์

                ประเภทอันตราย :  6.1

                หมายเลข UN : UN 1687

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : ไม่ระบุ

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
        – ให้เคลื่อนย้ายของการจุดติดไฟทั้งหมดออกไป

        – ให้มีการระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – ให้ทำความสะอาดส่วนที่หกรั่วไหลเพื่อไม่ให้เกิดฝุ่นแพร่กระจายไปในอากาศ

        – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ

        – ลดความเข้มข้นของฝุ่นสารในอากาศและป้องกันทำให้กระจายโดยการทำให้ชื้นด้วยการพรมกับน้ำ

        – เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุปิดมิดชิดเพื่อนำไปแปรรูปใช้ใหม่ หรือนำไปกำจัด

        – ต้องรายงานการหกรั่วไหล การปนเปื้อนดิน น้ำและอากาศมากเกินกว่าที่กำหนด

        การพิจารณาการกำจัด สารนี้ไม่สามารถทำได้อย่างปลอดภัยในการนำเอากลับคืนมาใช้ใหม่จะต้องนำไปกำจัดตามแบบของการกำจัดของเสียอันตราย

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12309022_10207269202381814_1401123889_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ไม่ระบุไว้

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าไม่หายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจลำบาก ให้ออกซิเจนช่วย นำส่งแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป กระตุ้นให้อาเจียนทันทีโดยบุคลากรทางการแพทย์ ห้ามให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ เรียกแพทย์โดยทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้นำสารเคมีออกจากผิวหนังให้เร็วที่สุด ล้างผิวหน้า ด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที ถอดเสื้อผ้ารองเท้า ที่เปื้อนสารเคมีออก และทำความสะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมกับเปิดเปลือกตาด้านบนและด้านล่างส่งไปพบแพทย์

         อื่นๆ : –

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                  – สารนี้เมื่อปนเปื้อนในจะไม่สลายตัวแต่จะซึมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดิน สารนี้เมื่อปนเปื้อนสู่อากาศ จะสลายตัวด้วยแสงอาทิตย์ปานกลาง สารนี้จะเป็นพิษกับปลาในความเข้มข้น น้อยกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตร

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :   –

        OSHA NO. :   211 , 121

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :   กระดาษกรอง             

        วิธีการวิเคราะห์ :       อะตอมมิกแอบซอปชั่น

        ข้อมูลอื่น ๆ : 

                – อัตราไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 2 ลิตรต่อนาที

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :        41

        DOT Guide :            –

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557