Sodium dichromate

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
        ชื่อเคมี IUPAC  Disodium dichromate

        ชื่อเคมีทั่วไป  Sodium dichromate

        ชื่อพ้องอื่นๆ    Dichromic acid, disodium salt ; Chromic acid (H2Cr2O7), disodium salt; Sodium Bichromate – Carc.;

        สูตรโมเลกุล    Na2Cr2O7.2H2O

        สูตรโครงสร้าง   สไลด์61

        รหัส IMO     12305387_10207267050808026_116692330_n12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.      10588-01-9

        รหัส EC NO.  –

        UN/ID No.  3085

        รหัส RTECS    –

        รหัส EUEINECS/ELINCS       –

        ชื่อวงศ์                –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า     JT.BAKER Inc., SAF-T.DATA

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ  –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                10588-01-9         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้ในกระบวนการแยกสารด้วยไฟฟ้า (eletrochemical) และทำให้สารแขวนลอย
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) :    50 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :       –

        IDLH(ppm) :           –

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :      –

        PEL-STEL(ppm) :    –

        PEL-C(ppm) :       0.0082(ppm)

        TLV-TWA(ppm) :    0.0041(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :    –

        TLV-C(ppm) :    –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :     –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :      เฉลี่ย 8 ชั่วโมง

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :       –

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :       –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ผลึก ของแข็ง

        สี : แดงส้ม

        กลิ่น :  ไม่มีกลิ่น

        นน.โมเลกุล :  298.0

        จุดเดือด(0ซ.) : 400

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) :  357

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :    2.35

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) : –

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  –

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  73 ที่ 0 ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  3.5

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm = 0.082

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 = 12.195 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :   –

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ :  การหายใจเข้าไป เนื่องจากสารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน จะก่อให้เกิดเนื้อเยื่อของเยื่อบุและทางเดินหายใจส่วนบนอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดแผลเปื่อยหรือทำให้โพรงจมูกทะลุได้ จะก่อให้เกิดอาการเจ็บคอ ไอ หายใจติดขัด อาจทำให้เกิดอาการหอบหือ และการสัมผัสสารที่ความเข้มข้นสูงอาจทำให้เกิดน้ำท่วมปอดได้

        สัมผัสทางผิวหนัง : การสัมผัสถูกผิวหนัง เนื่องจากสารนี้มีทธิ์กัดกร่อน จะก่อให้เกิดผื่นแดง ปวด และอาจเกิดแผลไหม้รุนแรงได้ ฝุ่นและสารละลายเข้มข้นของสารนี้จะก่อให้เกิดการระคายเคือง การสัมผัสกับผิวหนังที่แตกจะก่อให้เกิดแผลพุพอง หรือแผลเปื่อยได้ การดูดซึมของสารนี้ผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดพิษ และเกิดผลกระทบต่อการทำงานของตับและไต รวมทั้งอาจทำให้เกิดภาวะภูมิไวต่อการสัมผัสทางผิวหนัง

        กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนหรือกินสารนี้เข้าไปจะก่อให้เกิดแผลไหม้บริเวณปาก ลำคอ และกระเพาะอาหาร และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ก่อให้เกิดอาการเจ็บคอ อาเจียน ท้องร่วง กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ เส้นเลือดหดตัว วิงเวียนศีรษะ กระหายน้ำ เป็นตะคริว หมดสติ เกิดความผิดปกติของการสูบฉีดโลหิต เป็นไข้ ทำลายตับ และอาจทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลวอย่างเฉียบพลันได้

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตาจะก่อให้เกิดอาการตาแดง สายตาพร่ามัว ปวดตา และเกิดแผลไหม้ของเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดการทำลายกระจกตา และทำให้ตาบอดได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ :  เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (NTP)

                – การสัมผัสสารเป็นระยะเวลานานหรือการสัมผัสสารซ้ำๆ จะทำให้เกิดแผลเปื่อยและแผลทะลุของโพรงจมูก ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ทำลายตับและไต เกิดแผลเปื่อยหรือแผลพุพองที่ผิวหนัง การเกิดแผลพุพองอาการเริ่มแรกจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่สารจะค่อยๆเกิดการทำลายลึกเข้าจนถึงกระดูก , สารนี้เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว :  สารนี้มีความเสถียรภายใต้สภาวะปกติของการใช้และการเก็บรักษา

        สารที่เข้ากันไม่ได้ :  ไฮดรอกซีน อะซิติกแอนไฮดราย เอททานอล ไตรไนโตรโทลูอีน ไฮดรอกซีลามัน กรดเข้มข้น สารที่ไวไฟ สารอินทรีย์หรือสารที่สามารเกิดปฏิกิริยาออกซิไดส์ได้ง่าย เช่น กระดาษ ไม้ ซัลเฟอร์ อลูมินัม พลาสติก

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง :  ความร้อน และสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว :   ก๊าซโครเมียมออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ :  ไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :          –

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  –

        ค่า LEL % :     –

        UEL % :        –    

        NFPA Code :   311

         สารดับเพลิง : กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้เลือกใช้สารดับเพลิง/วิธีการดับเพลิง ที่เหมาะสมสำหรับสภาพการเกิดเพลิงโดยรอบ

                – สารนี้ไม่ไวไฟ แต่สารนี้เป็นสารออกซิไดส์อย่างแรง ซึ่งสามารถเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนกับสารรีดิวซ์ทำให้เกิดการลุกติดไฟได้

                – การกระแทกอย่างแรง การสัมผัสถูกความร้อน การเสียดสี หรือการสัมผัสกับประกายไฟอาจก่อให้เกิดการระเบิดได้

                – ให้ใช้น้ำฉีดหล่อเป็นฝอยเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่สัมผัสถูกเพลิงไหม้

                – ใช้น้ำฉีดหล่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่สัมผัสถูกเพลิงไหม้จนกระทั้งไฟดับหมด

                – กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) และชุดป้องกันสารเคมีพร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :  

                – เก็บในบริเวณที่แห้งและเก็บแยกออกจากสารที่สามารถติดไฟได้ สารอินทรีย์ สารที่สามารถออกซิไดส์ได้ง่าย

                – การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษาจะต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

        สถานที่เก็บ

                – หลีกเลี่ยงการเก็บสารนี้ไว้บนพื้นไม้

                – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายโดยเฉพาะการเข้าไปบำรุงรักษารอยแตกร้าวภายใน หรือที่ซึ่งมีการสัมผัสสารมากเกินกว่าที่กำหนด

                – ให้ทำการล้างมือทุกครั้งก่อนการกินอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่

                – ให้ล้างทำความสะอาดร่างกาย ให้ทั่วถึงภายหลังทำการเคลื่อนย้าย

                – ภาชนะบรรจุของสารที่เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่น ของแข็ง อาจเป็นอันตรายได้

                – ให้สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ให้ไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง 

                ชื่อในการขนส่ง : Oxidation Solid , Corrosive , N.O.S. (Sodium bichromate)

                ประเภทอันตราย :  5.1 , 8

                หมายเลข UN : UN 3085

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : ไม่ระบุ

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
        – วิธีการปฏิบัติในกรณีเกิดการหกรั่วไหล ให้จัดให้มีการระบายอากาศในบริเวณที่หกรั่วไหล

        -เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดเพื่อนำไปกำจัด

        -ให้ใช้การดูดหรือการกวาดขณะชื้นเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของฝุ่น

        -ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม

        การพิจารณาการกำจัด : ปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ไม่ระบุไว้

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย แล้วนำส่งไบพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป อย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปริมาณมาก ห้ามนำสิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากๆอย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก นำส่งไปพบแพทย์ และให้ซักทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตาให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมากๆอย่างน้อย 15 นาที พร้อมกระพริบตาถี่ๆขณะทำการล้าง นำส่งไปพบแพทย์

         อื่นๆ : –

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                  – เมื่อรั่วไหลสู่ดิน สารนี้จะถูกชะลงสู่น้ำใต้ดินได้

                  – เมื่อรั่วไหลสู่น้ำ คาดว่าสารนี้ไม่สามารถระเหยได้

                  – สารนี้จะสะสมในสิ่งมีชีวิตได้ในบางช่วงความเข้มข้น

                  – เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ สารนี้อาจเกิดการสลายตัวแบบเปียกออกจากอากาศได้

                  – คาดว่าสารนี้จะเป็นพิษต่อสัตว์และพืชน้ำ

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :   7024      

        OSHA NO. :   –

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :   กระดาษกรอง             

        วิธีการวิเคราะห์ :       อะตอมมิกแอบซอปชั่น

        ข้อมูลอื่น ๆ : 

                – การเก็บตัวอย่างใช้ : 0.8 um Cellulose ester membrane

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง : 1 ถึง 3 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด : ต่ำสุด 10 ลิตร สูงสุด 1000 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :       –

        DOT Guide :            –

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557