Acetone

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
          ชื่อเคมี IUPAC   2-Propanone

         ชื่อเคมีทั่วไป     Acetone ; Dimethyl ketone

         ชื่อพ้องอื่นๆ      Methyl ketone; Ketone propane; Dimethyl formaldehyde; Beta-ketopropane; Pyroacetic ether; Propanone; Dimethylketal; Pyroacetic acid; Chevron acetone

         สูตรโมเลกุล      C3H6O

         สูตรโครงสร้าง   12283191_10207247970371027_1021382547_n

         รหัส IMO        12286089_10207247452278075_1668521281_n

         CAS No.        67-64-1                  

         รหัส EC NO.    606-001-00-8

         UN/ID No.      1090              

         รหัส RTECS    AL 3150000

         รหัส EUEINECS/ELINCS         200-662-2

         ชื่อวงศ์                    –

         ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า           –

         แหล่งข้อมูลอื่นๆ          –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
         ส่วนประกอบ:

         ชื่อ          CAS #          น้ำหนักร้อยละ
         –          67-64-1          –
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
         การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการทำเครื่องสำอางค์ เป็นตัวทำละลาย ใช้ในการชะล้าง เป็นสารไล่น้ำ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
          LD50(มก./กก.) : 5800 (มก./กก.)

         LC50(มก./ม3) :     50,100/ 8 (มก./ม3)

         IDLH(ppm) :    2500 (ppm)

         ADI(ppm) :      –

         MAC(ppm) :    –

         PEL-TWA(ppm) :       1000 (ppm)

         PEL-STEL(ppm) :      1000 (ppm)

         PEL-C(ppm) :       –

         TLV-TWA(ppm) :      500 (ppm)       

         TLV-STEL(ppm) :   750 (ppm)

         TLV-C(ppm) :      –

         พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

         พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

         พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

         พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :  –

         พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           ชนิดที่ 3

         หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
          สถานะ : ของเหลว

         สี : ใส ไม่มีสี

         กลิ่น : คล้ายมินท์

         นน.โมเลกุล :   58.08

         จุดเดือด(0ซ.) :  56.5

         จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -95

         ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.79

         ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    –

         ความหนืด(mPa.sec) :    0.32

         ความดันไอ(มม.ปรอท) :  400 ที่ 39.50ซ.

         ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  ละลายน้ำได้ ที่  200ซ.

         ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :   –

         แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =    2.38

         มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.42 ppm ที่ 250ซ.

         ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :   –

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
         สัมผัสทางหายใจ การหายใจเอาไอระเหยของสารเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการไอ เวียนศีรษะ หดหู่ และปวดศีรษะ ถ้าได้รับปริมาณมาก ๆ มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง

         สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนังจะก่อให้เกิดการทำลายชั้นไขมันของผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นแดง ผิวหนังแห้งและแตก ก่อให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนได้

         กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไปในปริมาณน้อยจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่หากกินหรือกลืนเข้าไปในปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน

         สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา ไอระเหยของสารจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ทำให้ ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง และปวดตาได้

         การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ สัมผัสเรื้อรัง : การสัมผัสนาน ๆ หรือเป็นประจำทางผิวหนัง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง หรืออาจทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้ สารนี้มีผลทำลายปอด ทรวงอก ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
          ความคงตัว : สารนี้เสถียรภายใต้สภาวะปกติของการใช้และการเก็บ

         สารที่เข้ากันไม่ได้ : ส่วนผสมระหว่างกรดไนตริกเข้มข้นและกรดซัลฟูริก, สารออกซิไดซ์, คลอโรฟอร์ม, แอลคาไล, สารประกอบคลอรีน, กรด, โพแทสเซียมทีบิวทอกไซด์ (potassium t-butoxide)

         สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน เปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟและสารที่เข้ากันไม่ได้

         สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : คาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนนอกไซด์ จะเกิดขึ้นเมื่อถูกความร้อนทำให้สลายตัว

         อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

         การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
          จุดวาบไฟ(0ซ.) :            -20

         จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    465

         ค่า LEL % :     2.5

         UEL % :        12.8

         NFPA Code :   12277993_10207269065218385_747999914_n

          สารดับเพลิง : ให้ใช้ผงเคมีแห้ง แอลกอฮอล์โฟม หรือคาร์บอนไดออกไซด์

        – การระเบิด จะเกิดขึ้นได้เมื่อสัมผัสกับความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่าจุดวาบไฟ

        – ส่วนผสมไอระเหยกับอากาศจะระเบิดได้ภายในขีดจำกัดความไวไฟ

        – ไอระเหยสามารถแพร่กระจายไปสู่แหล่งจุดติดไฟและเกิดไฟย้อนกลับมาได้

        – การสัมผัส กับสารออกซิไดซ์อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเพลิงไหม้

        – ภาชนะบรรจุที่ปิดผนึกสนิทอาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน

        – สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัวคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนนอกไซด์ จะเกิดขึ้นเมื่อถูกความร้อนทำให้สลายตัว

        – สารนี้ว่องไวต่อประจุไฟฟ้าสถิตย์

        – น้ำจะใช้ไม่ได้ผลในการดับเพลิง

        – ให้ใช้การฉีดน้ำเป็นฝอยเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่ถูกเพลิงไหม้ , เจือจางส่วนที่หกรั่วไหลให้เป็นส่วนผสมที่ไม่ไวไฟ และเพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารและพยายามป้องกันบุคคลที่จะเข้าไปหยุดการรั่วไหลและการแพร่กระจายของไอระเหย

        – ในเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ ให้สวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว(SCBA) พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
          การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                – เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ

         สถานที่เก็บ :

                – เก็บห่างจาก : ความร้อน เปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟ และสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการใช้และเก็บสาร

                – หลีกเลี่ยงการหายใจ การกลืนกิน การสัมผัสกับผิวหนัง และเสื้อผ้า

                – ทำการเคลื่อนย้ายในที่โล่ง

                – ให้ล้างทำความสะอาดร่างกาย ให้ทั่วถึงภายหลังทำการเคลื่อนย้าย

         ข้อมูลการขนส่ง : 

                  ชื่อในการขนส่ง : ไม่ระบุไว้

                  ประเภทอันตราย : ไม่ระบุไว้

                  หมายเลข UN : ไม่ระบุไว้

                  ประเภทการบรรจุหีบห่อ : ไม่ระบุไว้

                  ขนาดผลิตภัณฑ์ : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล : ให้ระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ให้เคลื่อนย้ายแหล่งจุดติดไฟทั้งหมดออกไป

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – กั้นแยกบริเวณที่หกรั่วไหลเป็นพื้นที่อันตราย

        – ป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป

        – เก็บและเอาของเหลวคืนกลับมาใช้ใหม่เมื่อเป็นไปได้

        – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ

        – เก็บรวบรวมของเหลวในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมหรือดูดซับด้วยวัตถุเฉื่อย เช่น แร่หินทราย (vermiculite) ทรายแห้ง ดิน (earth) และเก็บใส่ในภาชนะบรรจุกากของเสียจากเคมี

        – อย่าใช้วัสดุติดไฟได้ เช่น ขี้เลื่อย ในการดูดซับสารที่หกรั่วไหล

        – อย่าฉีดล้างลงท่อระบายน้ำ ถ้าสารที่หกรั่วไหลยังไม่ลุกติดไฟ

        – ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อสลายกลุ่มไอระเหย เพื่อป้องกันบุคคลที่พยายามจะเข้าไปหยุดการรั่วไหล และฉีดล้างส่วนที่หกรั่วไหลออกจากการสัมผัส

        – แนะนำให้ใช้วัสดุดูดซับตัวทำละลายกับการหกรั่วไหลของสารนี้

        – การกำจัด ไม่ควรนำสารกลับมาใช้ใหม่ ควรนำไปกำจัดเช่นเดียวกับของเสียอันตราย

        – กระบวนการใช้หรือการปนเปื้อนของสารนี้จะต้องเปลี่ยนแนวทางในการจัดการของเสียใหม่

        – การจัดการกับภาชนะบรรจุและมิได้ใช้แล้วจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฏหมาย ความต้องการของส่วนกลางและท้องถิ่น

         การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
12282808_10207269089578994_74654600_n 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12309291_10207269044297862_182124300_n 12286194_10207269044497867_168388570_n

         ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : การเลือกประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

       – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 50 ppm ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อม Cartridge ซึ่งสามารถป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือหรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10 หรือให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

         ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

       – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister สำหรับป้องกันไอระเหยสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
          หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายออกไปที่อากาศบริสุทธิ ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจลำบาก ให้ออกซิเจน นำส่งไปพบแพทย์

         กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนหรือกินเข้าไป อาจจะทำให้เกิดการอาเจียนขึ้น แต่อย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน หากมีอาการอาเจียนให้ผู้ป่วยเอียงศีรษะลงต่ำ เพื่อป้องกันการหายใจเอาสารที่เกิดจากการอาเจียนเข้าสู่ปอด ห้ามมิให้นำสิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ นำส่งไปพบแพทย์

         สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก นำส่งไปพบแพทย์ ให้ทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท่าก่อนนำมาใช้อีกครั้ง

         สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมกระพริบตาถี่ๆขณะทำการล้าง นำส่งไปพบแพทย์

         อื่นๆ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
          ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                – สิ่งแวดล้อมถูกทำลายเสียหายเมื่อรั่วไหลสู่ดิน

                – สารนี้คาดว่าจะสลายตัวทางชีววิทยาได้ง่ายเมื่อรั่วไหลสู่ดิน

                – สารนี้คาดว่าจะถูกชะล้างลงสู่น้ำใต้ดิน เมื่อรั่วไหลสู่ดิน

                – สารนี้คาดว่าจะมีการระเหยอย่างรวดเร็ว เมื่อรั่วไหลสู่น้ำ

                – สารนี้คาดว่าจะสลายตัวทางชีววิทยาได้ง่าย เมื่อรั่วไหลสู่น้ำ

                – สารนี้คาดว่าจะมีการระเหยอย่างรวดเร็ว

                – สารนี้มีค่าสัมประสิทธิ์ค่า Log ของอ๊อกทานอลกับน้ำน้อยกว่า 3.0

                – สารนี้ไม่สามารถคาดได้ว่าจะสะสมสิ่งมีชีวิตได้ เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

                – สารนี้จะสลายตัวได้ปานกลางโดยทำปฏิกิริยากับสารไฮดรอกวิล เรดิวิล ที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีกับแสง เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

                – สารนี้จะสลายตัวโดยการสังเคราะห์แสงได้ปานกลาง เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

                – สารนี้คาดว่าสามารถเอาออกจากบรรยากาศได้ง่ายโดยทำให้เกิดการตกตะกอนแบบเปียก

                – ความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม:

                – สารนี้ไม่สามารถคาดได้ว่าจะเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

                – ค่าความเข้มข้นที่ทำให้ปลาตายกว่าร้อยละ 50 LC50ภายใน 96 ชั่วโมงมีค่ามากกว่า 1-100 มิลลิกรัมต่อลิตร

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
          NMAM NO. :  1300 , 3800

         OSHA NO. :    69

         วิธีการเก็บตัวอย่าง :     

         วิธีการวิเคราะห์ :         

         ข้อมูลอื่น ๆ : 

                – การเก็บตัวอย่างใช้ coconut shell charcoal 100 mg/50 mg

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 0.01 ถึง 0.2 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด 0.5 ลิตร , 3 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
         AVERS Guide :          14

         DOT Guide :   127

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557