Benzoyl chloride

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
        ชื่อเคมี IUPAC   Benzenecarbonyl chloride

        ชื่อเคมีทั่วไป     Benzoyl chloride

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Alpha-chlorobenzaldehyde; Benzoic Acid, Chloride

        สูตรโมเลกุล      C6H5COCl

        สูตรโครงสร้าง    12311985_10207266893884103_446829167_n

        รหัส IMO        12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.        98-88-4                  

        รหัส EC NO.    607-012-00-0

        UN/ID No.      1736              

        รหัส RTECS    –

        รหัส EUEINECS/ELINCS         202-710-8

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า J.T Baker

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 98-88-4         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : สารนี้เป็นสารวิเคราะห์และทดสอบทางด้านเคมี (regent) ในห้องปฏิบัติการเคมี
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 1900 (มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :       1870/ 2 (มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    –

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :       –

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       –

        TLV-STEL(ppm) :     1 (ppm)

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : เฉพาะตัว

        นน.โมเลกุล :   140.57

        จุดเดือด(0ซ.) :  197.2

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 0.6

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.21

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    4.88

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  1 ที่ 32 0ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  –

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  NA ที่ 21 0ซ.

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  5.75

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.17 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ : ละลายในอีเทอร์

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไป สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำลายเนื้อเยื่อบุเมมเบรนและทางเดินหายใจ ทำให้เป็นแผลไหม้ เกิดอาการหายใจติดขัด, กล่องเสียงอักเสบ, คอแห้ง, เจ็บคอ, ไอและหายใจลำบาก, หายใจถี่รัว, ปวดศรีษะ, คลื่นไส้และอาเจียน, อาจทำให้ตายได้ซึ่งเป็นผลจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ การอักเสบและอาการบวมน้ำของกล่องเสียงและหลอดลมใหญ่, โรคปอดอักเสบเนื่องจากสารเคมีและปอดบวม

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เกิดอาการผื่นแดง เจ็บปวด และแผลไหม้อย่างรุนแรงขึ้นได้

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไป สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนจะทำให้ปาก, ลำคอ และช่องท้องเป็นแผลไหม้อย่างรุนแรง ทำให้เจ็บคอ, อาเจียน, ท้องร่วง

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา ไอระเหยของสารนี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาอย่างรุนแรงจะทำให้กระจกตาไหม้ได้และตาถูกทำลายได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ สัมผัสเรื้อรัง  การสัมผัสเป็นเวลานาน ๆ จะมีผลต่อผิวหนัง และทางเดินหายใจ

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียร เมื่ออยู่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดภายใต้สภาวะการใช้และการเก็บปกติ

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : น้ำ ไอน้ำ แอลคาไล สารออกซิไดซ์ โซเดียมเอไฮด์ (DMSO Sodium azide) แอลกอฮอล์ เอมีน (Amines) และสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ จะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจน

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน เปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟและสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เมื่อได้รับความร้อน จะสลายตัวเป็นไฮโดรเจนคลอไรด์ และก๊าซฟอสจีน ถ้าสัมผัสถูกความชื้นจะเกิดก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ที่เป็นพิษ และมีฤทธิ์กัดกร่อนขึ้น

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :           72

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :     600

        ค่า LEL % :     1.2

        UEL % :         4.9    

        NFPA Code :   12273071_10207269248742973_843825048_n

        สารดับเพลิง : คาร์บอนไดออกไซด์, หรือผงเคมีแห้ง, อย่าใช้น้ำหรือโฟมในการดับเพลิง

        – การฉีดน้ำให้เป็นฝอยสามารถใช้ควบคุมหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่ถูกเพลิงไหม้

        – ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า

        – อย่าให้น้ำไหลเข้าไปในภาชนะที่บรรจุสารเคมี

        – ส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศจะเกิดการระเบิดได้ภายในขีดจำกัดความไวไฟที่อุณหภูมิของจุดวาบไฟ

        – ไอระเหยสามารถไหลไปบนพื้นสู่แหล่งจุดติดไฟ และเกิดติดไฟย้อนกลับมาได้

        – ภาชนะบรรจุที่ปิดผนึกอาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อน

        – ขณะเกิดการเผาไหม้จะเกิดก๊าซฟอสจีนและก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ซึ่งเป็นก๊าซพิษขึ้นได้

        – ชุดดับเพลิงธรรมดาไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะดับเพลิงที่เกี่ยวข้องกับสารนี้

        – หลีกห่างจากภาชนะบรรจุที่ปิดผนึกสนิท เมื่อเกิดเพลิงไหม้

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในที่เย็นและแห้งมีการระบายอากาศเป็นอย่างดี อยู่ห่างจากพื้นที่ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายจากอัคคีภัยอย่างเฉียบพลันได้

                – ควรเก็บไว้ภายนอกอาคารหรือการแยกเก็บให้ถูกต้อง

                – แยกออกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

        สถานที่เก็บ :

                – ภาชนะบรรจุจะต้องมีสายต่อเชื่อมและต่อลงดินสำหรับการถ่ายเทเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดประกายไฟสถิตย์, และป้องกันไม่ให้มีความชื้น

                – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ รวมถึงการป้องกันการระเบิดได้ของอากาศ

                – ไม่ควรสูบบุหรี่ในบริเวณเก็บและใช้สารเคมีนี้

                – ภาชนะบรรจุสารนี้ที่เป็นถังเปล่าแต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ไอระเหยของเหลว อาจเป็นอันตรายได้

        ข้อมูลการขนส่ง :

                ชื่อในการขนส่ง : Benzoyl chloride

                ประเภทอันตราย : 8

                หมายเลข UN : UN 1736

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                ขนาดผลิตภัณฑ์ : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – เคลื่อนย้ายแหล่งจุดติดไฟทั้งหมดออกไป

        – จัดให้มีการระบายอากาศเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล

        – ให้กั้นแยกเป็นพื้นที่อันตรายและ, ห้ามไม่ให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่จำเป็นและไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเข้าไป

        – เก็บรวบรวมของเหลวใส่ในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมหรือดูดซับด้วยวัตถุเฉื่อย เช่น แร่หินทราย (vermiculite) ทรายแห้ง (earth) และเก็บใส่ในภาชนะบรรจุกากของเสียจากเคมี, อย่าใช้วัสดุติดไฟได้ เช่น ขี้เลื่อย ในการดูดซับสาร

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – เก็บและเอาของเหลวคืนกลับมาใช้ใหม่ถ้าเป็นไปได้

        – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ ป้องกันอย่าให้น้ำที่เกิดจากการฉีดล้างไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ

        – อย่าฉีดล้างลงไปท่อระบายน้ำ

        การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12309022_10207269202381814_1401123889_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ไม่ระบุไว้

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์, ถ้าไม่หายใจ ให้ช่วยผายปอด, ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย, นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากินหรือกลืนเข้าไป, อย่ากระตุ้นทำให้เกิดอาเจียน, ให้ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ , ห้ามให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่ที่หมดสติ นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง เช็ดสารเคมีออกจากผิวหนังให้หมดแล้วฉีดล้างผิวหน้งด้วยน้ำปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก, นำส่งไปพบแพทย์โดยทันที, ทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนนำมาใช้อีกครั้ง

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที, นำส่งไปพบแพทย์

        อื่นๆ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                – ข้อมูลทางนิเวศวิทยา เมื่อรั่วไหลสู่ความชื้นในดินหรือน้ำ, คาดว่าสารนี้จะเกิดปฏิกิริยาของการสังเคราะห์ระหว่างน้ำกับสารประกอบที่ละลายในน้ำ,

                – สารนี้มีแนวโน้มที่จะไม่เกิดการสะสมในสิ่งมีชีวิต

                – เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ สารนี้จะสลายตัวได้ปานกลางโดยทำปฏิกิริยากับสารไฮดรอกวิล เรดิรัล ที่เกิดจากการปฏิกิริยาเคมีกับแสง สารนี้จะสลายตัวโดยการสังเคราะห์แสงได้ปานกลาง เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ สารนี้คาดวาจะมีการสลายตัวไปครึ่งหนึ่ง (halrtife) ภายในเวลาน้อยกว่า 1-10 วัน ความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม : สารนี้จะเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ค่าความเข้มข้นที่ทำให้ปลาตายกว่าร้อยละ 50 LC 50 ภายใน 96 ชั่วโมง มีค่าประมาณ 1-100 มิลลิกรัมต่อลิตร

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. : 

        OSHA NO. :   

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :     

        วิธีการวิเคราะห์ :         

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          41

        DOT Guide :   –

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557