Potassium dichromate

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   Potassium dichromate

        ชื่อเคมีทั่วไป     –

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Dichromic acid, dipotassium salt; Bichromate of potash; Potassium dichromate (VI); Dipotassium dichromate; Iopezite; Chromic acid (H2Cr2O7), dipotassium salt

        สูตรโมเลกุล      K2CR2O7

        สูตรโครงสร้าง     12312201_10207267070088508_1320813676_n

        รหัส IMO   12305387_10207267050808026_116692330_n 12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.        7778-50-9            

        รหัส EC NO.        024-002-00-6

        UN/ID No.      3085

        รหัส RTECS     KX 7680000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         231-906-6

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า J.T.Baker

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 7778-50-9         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : สารนี้ใช้เป็นสารในการวิเคราะห์และทดสอบทางเคมี(reagant)ในห้องปฏิบัติการเคมี
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 190  (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :       –

        IDLH(ppm) :   –

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :       0.0083(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       0.0042(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :     –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของแข็ง

        สี : แดงส้ม

        กลิ่น :   ไม่มีกลิ่น

        นน.โมเลกุล :   294.19

        จุดเดือด(0ซ.) :  500

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 398

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        2.676

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    –

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  –

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  6.5 %

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  4.04 ที่250ซ.

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  12.03

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.08  ppm ที่250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ : สารนี้สลายตัวที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำลายเนื้อเยื่อและทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดเป็นแผลพุพองและเกิดรูพรุนที่ผนังโพรงจมูก รวมถึงอาการลำคออักเสบ ไอ หายใจถี่รัว และหายใจติดขัด อาจทำให้ปอดไวต่อการเกิดภูมิแพ้ถ้าสูดดมเข้าไปมากๆอาจทำให้น้ำท่วมปอดได้

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนเกิดอาการผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน และแผลไหม้อย่างรุนแรง ฝุ่นและสารละลายเข้มข้นจะเป็นเหตุให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง การสัมผัสกับผิวหนังที่แตกเป็นแผลจะทำให้เกิดแผลพุพอง (แผลจากโครเมี่ยม)และสารนี้สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังจะมีผลกระทบต่อการทำงานของไตและตับ จะเป็นสาเหตุให้ผิวหนังไวต่อภูมิแพ้

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไป จะทำให้ปาก ลำคอ และกระเพาะอาหารเป็นแผลไหม้อย่างรุนแรง และอาจจะทำให้ถึงแก่ความตายได้ ทำให้เจ็บคอ อาเจียน และท้องเสีย อาจจะทำให้ลำไส้อักเสบ เวียนศีรษะ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว หมดสติ เป็นไข้ ตับและไตถูกทำลาย

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน จะทำให้มองไม่ชัด ตาแดง เจ็บตา เยื่อบุตาเกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อกระจกตาหรือตาบอดได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ สารนี้เป็นสารก่อมะเร็งตาม IARC, OSHA, ACGIH, NTP,EPA และสารนี้มีผลทำลายไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ปอด

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
        ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียรภายใต้สภาวะปกติของการใช้และการเก็บสารเคมี

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารรีดิวซ์, อะซิโตนกับกรดซัลฟูริค, โบรอนกับซิลิคอน, เอทธิลีนไกลคอล, เหล็ก, ไฮดราซีน และไฮดรอกซี่ลามีน, สารอินทรีย์หรือสารอื่นที่ออกซิไดซ์ได้ง่าย (กระดาษ ไม้ กำมะถัน อลูมินั่มหรือพลาสติก)

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน สารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : การลุกไหม้ทำให้เกิดก๊าซโครเมี่ยมออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :         

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    –

        ค่า LEL % :    

        UEL % :                

        NFPA Code :   12282908_10207269382986329_2108719215_n

         สารดับเพลิง : ให้ฉีดด้วยน้ำปริมาณมากๆ การใช้นำฉีดเป็นฝอยสามารถใช้ควบคุมหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่ถูกเพลิงไหม้

        – สารนี้ไม่ติดไฟแต่เป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรง

        – อย่าให้น้ำที่ใช้ดับเพลิงแล้วไหลล้นเข้าไปในท่อระบายน้ำหรือทางน้ำ

        – สารนี้สัมผัสกับสารออกซิไดซ์จะทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรงมาก

        – ในเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ควรสวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                – เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ

        สถานที่เก็บ :

                – หลีกเลี่ยงการเก็บบนพื้นไม้

                – ป้องกันการเสียหายทางกายภาพ

                – ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย โดยเฉพาะสำหรับงานบำรุงรักษาหรือที่ซึ่งมีการสัมผัสในระดับมากเกินกว่าที่กำหนด

                – ล้างมือ หน้า แขน คอ เมื่อออกจากพื้นที่ควบคุม และก่อนกินอาหาร หรือสูบบุหรี่

                – อาบน้ำถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกและสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดหลังจากเลิกงานแต่ละวัน หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อน

                – ภาชนะของสารนี้อาจจะเป็นอันตรายเมื่อเป็นถังเปล่า เนื่องจากมีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่น ของแข็ง

                – สังเกตคำเตือนทั้งหมดและข้อควรระมัดระวังที่ระบุไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : โปแตสเซียมไดโครเมท (Pottassium dicromate)

                ประเภทอันตราย : 5.1 , 8

                หมายเลข UN : 3085

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                ขนาดผลิตภัณฑ์ : 400 ปอนด์

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลให้ระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ดูดหรือการเก็บกวาดขณะชื้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของฝุ่น

        – เก็บกวาดและบรรจุใส่ภาชนะบรรจุเพื่อเก็บคืนหรือนำไปกำจัด

        – สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        การกำจัด : การพิจารณาการกำจัดสารนี้ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัยในการนำเอากลับคืนมาใช้ใหม่จะต้องจัดการเช่นเดียวกับกากของเสียและส่งให้ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตในการกำจัด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12309022_10207269202381814_1401123889_n 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12309291_10207269044297862_182124300_n 12286194_10207269044497867_168388570_n 12282808_10207269089578994_74654600_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ไม่ระบุไว้

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าไม่หายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนและนำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากินหรือการกลืนเข้าไปและยังมีสติอยู่ อย่ากระตุ้นทำให้เกิดการอาเจียน ให้ดื่มน้ำปริมาณมาก ห้ามให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสตินำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังให้ฉีดล้างผิวหนังโดยทันที่ด้วยน้ำปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดรองเท้าและเสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออกและนำไปพบแพทย์โดยทันที ล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าให้ทั่วถึงก่อนนำมาใช้อีกครั้ง

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตาให้ฉีดล้างตาโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที กระพริบตาขึ้น – ลง นำส่งไปพบแพทย์โดยทันที

        อื่นๆ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา : 

                – ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. : 

        OSHA NO. :   

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :     

        วิธีการวิเคราะห์ :         

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :     30

        DOT Guide :          141

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557