2-Propanol

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   2 – Propanol ; Isopropanol

        ชื่อเคมีทั่วไป     Isopropyl alcohol ; 2 – Propyl alcohol ; Sec – propyl alcohol

        ชื่อพ้องอื่นๆ      IPA; Sec-propanol; Rubbing Alcohol; Dimethylcarbinol; Sec-Propyl alcohol; Alcohol; Propan-2-ol; I-Propanol; 2-Hydroxypropane; Alcojel; Alcosolve; Avantin; Chromar; Combi-schutz; Hartosol; Imsol a; Isohol; Lutosol; Petrohol; N-propan-2-ol; Propol; Spectrar; Sterisol hand disinfectant; Takineocol; Alcosolve 2; DuPont Zonyl FSP Fluorinated Surfactants; DuPont Zonyl FSJ Fluorinated Surfactants; DuPont Zonyl FSA Fluorinated Surfactants; DuPont Zonyl FSN Fluorinated Surfactants; Isopro pyl Alcohol (Manufacturing, strong-acid process);

        สูตรโมเลกุล      C3H8O

        สูตรโครงสร้าง      สไลด์112

        รหัส IMO     12286089_10207247452278075_1668521281_n

        CAS No.        67-63-0                  

        รหัส EC NO.    603-003-00-0

        UN/ID No.      1219            

        หัส RTECS     NT 8050000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         200-661-7

        ชื่อวงศ์  Secondary อะลิฟาติกแอลกอฮอล์

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ CHEMINFO

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 67-63-0         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการผลิตเครื่องสำอางค์ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 4710 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :          41650/ – ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    2000(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :         400(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      500(ppm)

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :        400(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :      500(ppm)

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535:      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535  :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : เหมือนยางแอลกอฮอล์ , ฉุน

        นน.โมเลกุล :   60.09

        จุดเดือด(0ซ.) :  82.3

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -88.5

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.8044

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    2.1

        ความหนืด(mPa.sec) :    2.4

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  33 ที่ 20 0ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  ละลายน้ำได้ ที่ 20 0ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  2.45

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.408 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปไม่เป็นอันตรายมาก แต่เกิดการระคายเคืองจมูกและลำคอ และระบบทางเดินหายใจ อาการที่แสดงต่อมาเมื่อได้รับสารเพิ่มขึ้น คือ ปวดหัว , คลื่นไส้ , วิงเวียน , อาเจียน ถ้าได้รับปริมาณสูงขึ้นอาจทำให้หมดสติหรือตายได้

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนังไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณผิวหนังในกรณีที่สัมผัสในเวลาอื่นๆ แต่ถ้าสัมผัสนาน จะทำให้ผิวหนังแห้งและผิวหนังแตก

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนเข้าไปปริมาณมากทำให้อาการทรุดหนักลงไป อาการคล้ายการสัมผัสทางหายใจ ซึ่งควรนำไปพบแพทย์ อาการคือจะอาเจียน และมีอันตรายเกี่ยวกับปอด

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตาทำให้เกิดการระคายบริเวณตา ถ้าสัมผัสถูกสารที่ 400 ppm ประมาณ 3 – 5 นาที ถ้าสัมผัสที่ 800 ppm จะทำให้เกิดแผล อาจจะไม่เป็นอันตรายต่อคน แต่จากการทดลองเป็นอันตรายต่อสัตว์ เมื่อได้รับในอัตราที่สูง

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ :

                – อาจจะไม่เป็นอันตรายต่อคน แต่จากการทดลองเป็นอันตรายต่อสัตว์ เมื่อได้รับในอัตราที่สูง

                – สารทำลายระบบประสาท ไต ระบบหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ระบบทางเดินอาหาร

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้เสถียร เกิดรูปเปอร์ออกไซด์ในความมืด และไวต่อแสงแดด ทำให้อยู่ในรูปของคีโตนเมื่อเกิดปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดรีน

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดส์อย่างแรง (โครเมียมไตรออกไซด์ , เปอร์คลอเรต , เปอร์ออกไซด์) ซึ่งเสี่ยงต่อการติดไฟ , ระเบิด กรดเข้มข้น (กรดไนตริก , กรดซัลฟูริก , โอลีน) ปฎิกริยาที่รุนแรงและอันตราย โลหะอัลคาไลน์ และอัลคาไลน์เอริท์ (ไม่เกิดการติดไฟได้ก๊าซไฮโดรเจน) อลูมิเนียม เกิดปฏิกริยารุนแรง และไม่ให้ความร้อนโครโตนานดีไฮน์หรือฟอสจีน , โพแทลเซี่ยลบิวทิวออกไซด์ , ไตรไนโตรมีเทป

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : เปลวไฟ , ประกายไฟ , ประจุไฟฟ้า , ความร้อน และสารติดไฟ , แสง

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : ไม่ระบุไว้

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : แอนไฮดริส โพรพานอลไม่กัดกร่อนเหล็ก , สเตนเลท , เหล็กกล้า , ทองแดงและบรอนซ์ และอัลลอยด์ที่อุณหภูมิปกติ

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :            11.7

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :   399

        ค่า LEL % :     2

        UEL % :         12    

        NFPA Code :    12277993_10207269065218385_747999914_n

         สารดับเพลิง : คาร์บอนไดออกไซด์ , ผลเคมีแห้ง , แอลกอฮอล์โฟม , พอลิเมอร์โฟม แต่น้ำจะไม่มีประสิทธิภาพในการดับเพลิง เพราะไม่ทำให้อุณหภูมิของสารต่ำกว่าจุดวาบไฟได้ นิยมที่สุดคือ โฟม

                – สารนี้ทนต่อแรงกระแทก , ไวต่อประจุไฟฟ้า

                – กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA)

                – สารที่ได้จากการเผาไหม้ : คาร์บอนมอนอกไซด์ , คาร์บอนไดออกไซด์ และสารพิษอื่นๆ

                – ควรหยุดสารที่รั่วไหลก่อนจะดับไฟ ถ้าหยุดสารไม่ได้ให้ใช้น้ำในการดับเพลิง

                – ในการดับเพลิงควรอยู่ในที่ที่ปลอดภัย อยู่เหนือลม เพื่อป้องกันสารพิษปลิวเข้าตา

                – ถ้าเป็นไปได้ควรนำภาชนะบรรจุสารออกไปจากบริเวณนั้น

                – ในกรณีสารรั่วไหลแต่ยังไม่ไหม้ ควรใช้น้ำฉีดเป็นฝอยกว้างๆ หรือใช้น้ำช่วยในการเจือจางฉีดให้ห่างจากเปลวไฟ หรือสารติดไฟ

                – ผู้ดับเพลิงควรมีความชำนาญ

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                – เก็บห่างจากสารออกซิไดส์ , การกัดกร่อนและสารไม่เข้ากัน หรือกรดเข้มข้น , กรดแอนไฮไดรส์ , ธาตุอัลคาไลฟ์ , ธาตุอัลคาไลน์เอริท (โลหะ ควรจะปิดฉลากไว้ด้วยและเขียนคุณสมบัติของสารไว้ด้วย)

                – เก็บให้ห่างจากสารที่เข้ากันไม่ได้ ความร้อน เปลวไฟ แสงแดด

        สถานที่เก็บ :

                – สถานที่เก็บไม่ควรมีสื่อที่สามารถติดไฟได้ เช่น บุหรี่ ไม้ขีดไฟ ไฟ

                – ควรปิดฝาภาชนะเมื่อไม่ใช้

                – ไม่ควรนำสารที่เหลือจากการใช้กลับมาใส่ภาชนะบรรจุอีก และควรปิดฉลากไว้ด้วย

                – สารนี้ไวไฟ เป็นสารพิษ และสารระคายเคืองตา

                – ก่อนเก็บสิ่งสำคัญคือควรมีอุปกรณ์ป้องกันและทำความสะอาดให้ดี

                – บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีควรทราบถึงคุณสมบัติของสาร

                – การจัดเก็บควรมีคู่มือการปฐมพยาบาล

                – วิธีการดับเพลิง หรือวิธีการกำจัดกรณีรั่วไหล หลีกเลี่ยงการเกิดไอ และไม่ให้ไอรั่วไหลออกไป อย่าให้สารกระเด็น

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : Isopropanol

                ประเภทอันตราย : 3

                หมายเลข UN : UN 1219

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม I

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการปฏิบัติในกรณีเกิดการหกรั่วไหล

        – ให้หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยปราศจากความเสี่ยงอันตราย

        – ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยดิน , ทราย , ฝุ่น หรือสารที่มีคุณสมบัติการดูดซับได้

        – จัดหาอุปกรณ์ป้องกันและจัดเก็บสารที่รั่วไหลใส่ภาชนะบรรจุสำหรับนำไปกำจัด

        – จัดเก็บสารที่รั่วไหล นำเอาสารที่เป็นของเหลวกลับมาใช้ใหม่ หรือจัดเก็บไว้ถ้าสามารถทำได้

        – หยุดการรั่วไหลของสารถ้าสามารถทำได้โดยปราศจากความเสี่ยงจากอันตราย

        – เคลื่อนย้ายสารที่ทำให้เกิดความร้อน

        – ให้หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยปราศจากความเสี่ยงอันตราย

        การกำจัด : ไม่ระบุไว้

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : การเลือกประเภทถุงมือ

                 แนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Laminated film ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 480 นาที แนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Nitrile ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และควรมีอัตราการเสื่อมสภาพของถุงมือ (Degradation Rating) อยู่ในระดับดีมาก และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Unsupported Neoprene ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) 200 นาที และควรมีอัตราการเสื่อมสภาพของถุงมือ (Degradation Rating) อยู่ในระดับดี และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Neoprene/Natural Rubber Blend ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) 30 นาที และควรมีอัตราการเสื่อมสภาพของถุงมือ (Degradation Rating) อยู่ในระดับดี และไม่แนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Supported Polyvinyl Alcohol

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

                – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 1000 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า และCanister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมีCanister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

                – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

                   – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister ที่สามารถป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ ฝุ่น ละอองไอ และฟูม ให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปจากบริเวณเปลวไฟของสาร เคลื่อนย้ายสารและผู้ป่วยไปยังที่มีอากาศบริสุทธิ์ รีบนำไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป :       ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป ไม่ควรให้สิ่งใดเข้าปากในกรณีผู้ป่วยหมดสติ ควรล้างปากด้วยน้ำ อย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ควรให้ผู้ป้วยดื่มน้ำ 8-10 แก้วหรือ 240-300 มิลลิลิตร เพื่อนำไปเจือจางสารในช่องท้อง ถ้าผู้ป่วยเกิดอาเจียนขึ้นมาให้ผู้ป่วยนอนลาดกับพื้น และให้ดื่มน้ำอีกแล้วรีบนำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก นำไปส่งพบแพทย์ ถ้ายังมีอาการระคายเคือง ซักทำความสะอาดเสื้อผ้า และรองเท้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ควรล้างตาด้วยน้ำอุ่นทันที โดยในน้ำไหลผ่านประมาณ 20 นาที หรือจนกระทั่งสารเคมีออกหมดแล้ว ควรเปิดเปลือกตา ดูแลอย่าให้มีสิ่งเจือปนในน้ำเข้าตาอีก แล้วรีบนำไปพบแพทย์

        อื่นๆ :

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา : – ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

                – สารนี้สามารถเกิดการย่อยสลายทางชีวภาพได้

                – ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ หากมีการใช้และจัดการกับผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  1401  

        OSHA NO. :    109

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ :

                  – การเก็บตัวอย่างใช้ coconut shell charcoal 100mg/50 mg

                  – การวิเคราะห์ใช้เทคนิค GC ที FID detector

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :  16

        DOT Guide :   129

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557