Aniline

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   Aminobenzene

        ชื่อเคมีทั่วไป     Aniline

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Benzamine; Aniline oil, phenylamine; Aniline oil; Phenylamine; Aminophen; Kyanol; Benzidam; Blue oil; C.I. 76000; C.I. oxidation base 1; Cyanol; Krystallin; Anyvim; Arylamine; Aniline ;

        สูตรโมเลกุล      C6H7N

        สูตรโครงสร้าง      สไลด์119

        รหัส IMO 12305967_10207256021172292_1807016644_n12309051_10207268096954179_1768263646_n

        CAS No.        62-53-3

        รหัส EC NO.    612-008-00-7

        UN/ID No.      1547             

        รหัส RTECS     BW 6650000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         200-539-3

        ชื่อวงศ์  Aromatic primary amine aniline/aminobenzene /benzeneamine

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ CHEMINOFO

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 62-53-3         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการผลิตเมทิลีนไดมีนิลไดโอโซไซยาเนต (MDI) และโพลีเมอริก MDI (PMPPI) และการผลิตยาง, สีย้อม, ไฮโดรคีโนน, ผลิตยาและสารเคมีทางการเกษตร ใช้ในกระบวนการผลิตไซโคลเฮกซีลามีน, พีโนลิก, สารยับยั้งการกัดกร่อน, เป็นส่วนประกอบในแลคเกอร์, ยาง, และอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ใช้เป็นสารในห้องปฏิบัติการ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 25 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :          665/ 7  ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    100(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :        2(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       2(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :      –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535:      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535  :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           ชนิดที่ 3

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว เหมือนน้ำมัน

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : เหม็น เฉพาะตัว

        นน.โมเลกุล :   93.13

        จุดเดือด(0ซ.) :  184-184.5

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -6.03

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.022

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    3.22

        ความหนืด(mPa.sec) :     4.35

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  0.3ที่ 200ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  3.5

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  8.1

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  3.80

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =          0.263 ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :

                – ละลายในเอทานอล อะซีโตน ไดเอทิลอีเธอร์ เบนซีน คลอโรฟอร์ม และตัวทำละลายอินทรีย์

                – สารนี้จะเปลี่ยนสีเมื่อสัมผัสถูกอากาศหรือแสง

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปทำให้หายใจติดขัด คลื่นไส้ อาเจียน คอแห้ง วิงเวียน อ่อนเพลีย หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นผิดปกติ อาการโคม่า เสียชีวิต เนื่องจากหัวใจล้มเหลว

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง สารนี้ดูดซึมผ่านผิวหนัง

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไปทางเดินอาหาร เป็นอันตรายต่อร่างกาย

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตาทำให้เกิดการระคายเคืองตา ทำให้มองไม่ชัดเจน

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ :

                – สารนี้เป็นสารก่อมะเร็ง กลุ่ม 3 ตาม IARC. กลุ่ม A3 ตาม ACGIH

                – สารนี้ทำลายเลือด ตา ตับ ไต ระบบหายใจ และระบบประสาทส่วนกลาง

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียรปานกลาง เกิดการออกซิไดส์เมื่อสัมผัสอากาศและแสง

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดซ์ เช่น เปอรออกไซด์, เปอร์โครเมต, กรดไนตริก, โอโซน, กรดเปอร์คลอริก ทำให้เกิดเพลิงไหม้และการระเบิด กรด-ทำปฏิกิริยารุนแรง, ไนโตรมีเทน-เกิดการติดไฟ, เตตระไนโตรมีเทน, ไตรคลอโรไนโตรมีเทน-ทำปฏิกิริยารุนแรง, ซิลเวอร์เปอร์คลอเรต, โลหะอัลคาไลน์, โลหะอัคคาไลน์เอิร์ท-เกิดก๊าซไฮโดรเจนที่ไวไฟเฮกซะคลอโรเมลามีน, ไตรคลอโรเมลามีน-เกิดปฏิกิริยารุนแรง

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : เปลวไฟและความร้อน

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : เปลวไฟและความร้อน

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :                       70

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :     615

        ค่า LEL % :     1.3

        UEL % :         11    

        NFPA Code :   320

         สารดับเพลิง : คาร์บอนไดออกไซด์, ผงเคมีแห้ง, โฟมแอลกอฮอล์, โพลีเมอร์โฟม, น้ำฉีดเป็นฝอย

                – สารนี้ไวไฟ

                – ส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศสามารถทำให้เกิดการระเบิด ที่อุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส

                – ภาชนะบรรจุของสารอาจเกิดการระเบิดได้เมื่อสัมผัสกับความร้อนหรือไฟ

                – ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่สัมผัสเพลิงไหม้

                – สารเคมีอันตรายจากการเผาไหม้ : คาร์บอนมอนนอกไซด์, คาร์บอนไดออกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์,

                – กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA)

                – อพยพออกจากบริเวณเพลิงไหม้

                – การอยู่เหนือลม เพื่อป้องกันไอระเหยที่เป็นพิษและทำให้ระคายเคือง

                – ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย เพื่อลดการแพร่กระจายของฝุ่น

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
          การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด เมื่อไม่ได้ใช้งาน

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                – เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ

                – เก็บห่างจากความร้อน แหล่งจุดติดไฟ

                – เก็บห่างจากสารที่เข้ากันไม่ได้

        สถานที่เก็บ :

                – ทำความสะอาดบริเวณเก็บสารเคมี

                – บริเวณเก็บสารเคมีควรแยกจากบริเวณทำงาน

                – ติดป้ายเตือนอันตราย

                – ติดฉลากที่ภาชนะ

                – เก็บภาชนะบรรจุไว้ในระดับความสูงที่เหมาะสมกับการเคลื่อนย้าย

                – ภาชนะบรรจุของสารที่เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ไอระเหย ของเหลว อาจเป็นอันตรายได้

                – การเก็บสารเคมีควรทำจากวัสดุที่ทนไฟ และไม่ใช่สารไวไฟ

                – มีอุปกรณ์ดับเพลิงหรือทำความสะอาดในบริเวณเก็บสารเคมี

                – ให้สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ให้ไว้สำหรับสารนี้

                – ต่อภาชนะบรรจุลงดิน

                – ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่

                – อย่าใช้ร่วมกับสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ป้องกันสารเพลิงไหม้ไปในบริเวณทำงาน

                – อย่านำสารที่ใช้แล้วใส่เข้าในบริเวณภาชนะบรรจุใหม่

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : Aniline

                ประเภทอันตราย : 6.1, 9.2

                หมายเลข UN : UN 1547

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                ขนาดผลิตภัณฑ์ : 50 kg

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – อย่าเข้าไปบริเวณสารรั่วไหลจนกว่าจะมีการทำความสะอาดเรียบร้อย

        – ทำความร้อนโดยบุคคลที่มีความชำนาญ

        – ระบายอากาศบริเวณสารหกรั่วไหล

        – ดับเพลิง หรือย้ายแหล่งจุดติดไฟออกจากบริเวณสารหกรั่วไหล

        – ย้ายหรือแยกสารไวไฟออกจากบริเวณสารหกรั่วไหล

        – ป้องกันไม่ให้สารเคมีที่หกรั่วไหล ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ แม่น้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ

        – เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดเพื่อนำไปกำจัด

        – ให้หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยปราศจากความเสี่ยงอันตราย

        – ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยทราย ดิน แร่เวอร์มิคิวไลต์ หรือวัสดุดูดซับที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี

        – ล้างบริเวณสารหกรั่วไหล หลังจากสารเคมีถูกเก็บกวาดเรียบร้อยแล้ว

        การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12309022_10207269202381814_1401123889_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

               – ที่ช่วงความเข้มข้นที่เกิดกว่าค่ามาตรฐานที่ NIOSH แนะนำหรือที่ทุกช่วงความเข้มข้นที่สามารถวัดได้ : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

                ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า และอุปกรณ์กรองอนุภาคประสิทธิภาพ (HEPA filter) หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        กินหรือกลืนเข้าไป :       ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปอย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ห้ามไม่ให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ ให้ผู้ป่วยช่วยดื่มน้ำ 240-300 ml. เพื่อเจื้อจางสารในท้อง ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง :           ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำ โดยให้น้ำไหลผ่าน 20 นาที หรือจนสารเคมีออกหมด

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตาให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก โดยให้น้ำไหลผ่านเป็นเวลา 20 นาที โดยใช้นิ้วถ่างแยกเปลือกตาออก อย่าให้น้ำล้างตาไหลไปโดนตาที่ไม่ได้สัมผัสสาร นำส่งพบแพทย์ทันที

        อื่นๆ :   ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                – เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เป็นอันตรายต่อแหล่งน้ำดื่ม

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  2002 , 2017

        OSHA NO. :    A95-1

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – การเก็บตัวอย่างใช้หลอดเก็บตัวอย่าง 150 mg/75mg

                – การวิเคราะห์ใช้เทคนิค Gas Chromatography ใช้ FID Detector

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          38

        DOT Guide :               153

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557