Benzyl chloride

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   Chloromethylbenzene

        ชื่อเคมีทั่วไป     Benzyl chloride

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Omega-Chlorotoluene; Chlorophenylmethane; (chloromethyl)Benzene; Alpha-Chlorotoluene; Tolyl chloride; Benzyl chloride ;

        สูตรโมเลกุล      C7H7Cl

        สูตรโครงสร้าง        สไลด์123

        รหัส IMO 12305967_10207256021172292_1807016644_n

        CAS No.        100-44-7

        รหัส EC NO.    602-037-00-3

        UN/ID No.      1738              

        รหัส RTECS    XS 8925000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         202-853-6

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า SIGMA CHEMICAL CO.

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 100-44-7         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุไว้
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 1231 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :      150ppm/ 2 ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    10(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :       1(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       1(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :     –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                ชนิดที่ 1

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : ฉุน

        นน.โมเลกุล :   126.59

        จุดเดือด(0ซ.) :  177-181

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -43ถึง-39

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.1

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    4.36

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  0.91 ที่ 20 0ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  0.05 ที่ 30 0ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =   5.18

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.19 ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปสารนี้จะไปทำลายเยื่อเมือกอย่างรุนแรง ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง เกิดการอักเสบ และเกิดอาการบวมน้ำ ของกล่องเสียง และหลอดลมใหญ่ เกิดอาการไอหายใจถี่รัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นโรคปอดอุดตันเนื่องจากสารเคมี

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง จะทำให้เกิดแผลไหม้ และสามารถทำลายเนื้อเยื่อผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงและปวด

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนกินเข้าไป จะทำให้เกิดแผลไหม้ที่ปาก ลำคอ ท้อง กล่องเสียงบวม ชัก อัมพาต

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา จะทำให้น้ำตาไหล ทำให้เกิดการระคายเคืองทำลายเนื้อเยื่อบุตา

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ สารนี้เป็นสารก่อมะเร็ง

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : ไม่ระบุไว้

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : เมื่อสัมผัสกับโลหะทั่วไป ยกเว้น นิเกิลและตะกั่ว หรือความชื้น จะทำให้เกิดก๊าซพิษและสารกัดกร่อนไฮโดรเจนคลอไรด์, สารออกซิไดส์, เหล็กและเกลือของเหล็ก, ทองเหลือง

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : สารนี้จะสลายตัวเมื่อสัมผัสถูกความชื้น อากาศ น้ำ

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์

                – เมื่อสัมผัสกับน้ำจะทำปฏิกิริยาอย่างช้า ๆ ได้ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ และเบนซินแอลกอฮอล์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : ไม่ระบุไว้

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :             74

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :     585

        ค่า LEL % :     1.1

        UEL % :        14     

        NFPA Code :   

         สารดับเพลิง : ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้ง หรือโฟมที่เหมาะสม ห้ามใช้น้ำในการดับเพลิง

                – กรณีเกิดเพลิงไหม้ ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยการหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) และชุดป้องกันสารเคมีสัมผัสผิวหนัง และตา

                – เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้เกิดควันก๊าซพิษออกมา

                – ทำปฏิกิริยากับน้ำให้เกิดก๊าซกรด เมื่อสัมผัสกับผิวโลหะ จะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนที่ไวไฟ และระเบิดได้

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

                – เก็บในที่แห้ง และเย็น มีการระบายอากาศดี

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน เปลวไฟ

                – ล้างทำความสะอาดทั่วภายหลังจากการเคลื่อนย้าย

        ข้อมูลการขนส่ง :

                ชื่อในการขนส่ง : Benzyl Chloride

                ประเภทอันตราย : 6.1

                หมายเลข UN : 1738

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                ขนาดผลิตภัณฑ์ : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการปฏิบัติเมื่ออุบัติเหตุรั่วไหล ให้อพยพคนออกจากพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ปิดคลุมด้วยปูนขาวแห้ง ทราย หรือโซดาแอ๊ส และเก็บใส่ในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด และนำไปกำจัดเป็นกากของเสีย

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยการหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) รองเท้าบู๊ท และถุงมือยาง ห้ามหายใจเอาไอระเหยเข้าไป

        การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
         ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

                      – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 10 ppm : ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมCartridge สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ และก๊าซของสารจำพวกกรด โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้าโดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

                ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

                       – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) พร้อม Canister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ และก๊าซจำพวกกรด หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     การหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าผู้ป่วยหายใจติดขัด ให้ออกซิเจน นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป :      การกินหรือกลืนเข้าไป และผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ แล้วกระตุ้นทำให้เกิดการอาเจียน นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้า และรองเท้าที่เปรอะเปื้อนออก

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ล้างตาโดยทันที ด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที โดยนิ้วถ่างตาให้กว้าง ฉีดล้างจนมั่นใจว่าสารเคมีออกหมด

        อื่นๆ :

ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา : ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสียหรือดิน
มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  1003

        OSHA NO. :   

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ : 

                – การเก็บตัวอย่างใช้ coconut shell charcoal

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 0.01 ถึง 0.2 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด ต่ำสุด 6 ลิตร สูงสุด 50 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          41

        DOT Guide :   –

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557