Butan-1-Ol

ส่วนที่ 1: สินค้าทางเคมีและการระบุ บริษัท
         ชื่อเคมี IUPAC   N-Butanol ; 1-Butanol

        ชื่อเคมีทั่วไป     Butyl alcohol

        ชื่อพ้องอื่นๆ      N-butyl alcohol; 1-Butanol; Propylcarbinol; Butyric alcohol; Butan-1-ol;

        สูตรโมเลกุล      C4H10O

        สูตรโครงสร้าง        สไลด์125

        รหัส IMO  12286089_10207247452278075_1668521281_n

        CAS No.        71-36-3

        รหัส EC NO.    –

        UN/ID No.      1120             

        รหัส RTECS     RO 1400000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         200-751-6

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า Fluka Chemical Corp.

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 71-36-3         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นสารละลายเคลือบผิวและสารอื่น ๆ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 790 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :        24240/ 4 ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    1400(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :       100(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       50(ppm)       

        TLV-STEL(ppm) :     100(ppm)

        TLV-C(ppm) :      50(ppm)

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : คล้ายเอทานอล

        นน.โมเลกุล :   74.12

        จุดเดือด(0ซ.) :  116-118

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -89.5

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.810

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    2.6

        ความหนืด(mPa.sec) :    2.95

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  4ที่ 200ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  7.7 ที่ 200ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =    3.03

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.33 ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :   ละลายใน แอลกอฮอลล์ , อิเทอร์, ตัวทำละลายอินทรีย์ต่างๆ

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคือง การหายใจเอาสารที่ความเข้มข้นสูงๆเข้าไป สารนี้จะไปทำลายเยื่อเมือกและทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการไอ แผลไหม้ หายใจติดขัด กล่องเสียงอักเสบ ปวดศีรษะ หายใจถี่รัว คลื่นไส้ และอาเจียน

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคือง และเกิดการทำลายเยื่อบุที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดง

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการง่วงซึม เวียนศีรษะ มึนเมา (inebriation) ความดันโลหิตลดลง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ทำอันตรายต่อตับและไต

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและทำลายเยื่อบุตา ทำให้ตาแดง ปวดตา และสายตาพร่ามัวได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ อวัยวะเป้าหมายคือระบบประสาทส่วนกลาง ตา ตับ ไต โลหิต และระบบประสาทหู

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียร ไม่เกิดขึ้น

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : แอซิคลอไรด์ แอซิดแอนไฮไดรด์ สารออกซิไดซ์ สารรีดิวซ์ ทองแดง อัลลอยด์ของทองแดง โลหะอัลคาไลด์ อลูมิเนียม

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ไม่ระบุไว้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : ฟูม/ก๊าซพิษของคาร์บอนมอนนอกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :            34

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :     342

        ค่า LEL % :     1.4

        UEL % :        11.2   

        NFPA Code :   12277993_10207269065218385_747999914_n

         สารดับเพลิง : ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้ง หรือโฟมที่เหมาะสม

                – อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างไอระเหยของสารและอากาศ สามารถก่อให้เกิดการระเบิดได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส

                – สารนี้เป็นของเหลวไวไฟ

                – ไอระเหยของสารนี้อาจเกิดการแพร่กระจายไปสู่แหล่งจุดติดไฟและเกิดการติดไฟย้อนกลับมาได้

                – ภาชนะบรรจุอาจเกิดการระเบิดขึ้นได้เมื่อถูกเพลิงไหม้

                – ใช้การฉีดเป็นฝอยเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่สัมผัสถูกเพลิงไหม้

                – น้ำจะมีประสิทธิภาพในการฉีดหล่อเย็น แต่จะไม่มีผลในการดับเพลิง

                – ขั้นตอนการดับเพลิงรุนแรง ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) และชุดป้องกันสารเคมีสัมผัสผิวหนัง และตา

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในที่ที่เย็น และแห้ง

                – เก็บห่างจากความร้อน ประกายไฟ และเปลวไฟ

                – ล้างทำความสะอาดให้ทั่วภายหลังจากการเคลื่อนย้าย

        สถานที่เก็บ :

                – ใช้เฉพาะในตู้ดูดควันจากสารเคมี

                – เก็บห่างจากสารออกซิไดส์

                – เก็บในบริเวณที่ป้องกันไฟ

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : ไม่ระบุไว้

                ประเภทอันตราย : ไม่ระบุไว้

                หมายเลข UN : ไม่ระบุไว้

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : ไม่ระบุไว้

                ขนาดผลิตภัณฑ์ : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลให้อพยพออกจากพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ให้ตัดหรือแยกแหล่งจุดติดไฟทั้งหมดออก

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) รองเท้าบูทยางและถุงมือยาง

        – ปิดคลุมสารที่หกรั่วไหลด้วยถ่านกัมมันต์ (Activated carbon)

        – เก็บกวาดส่วนที่หกรั่วไหลและใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดและเคลื่อนย้ายออกไว้ภายนอกอาคาร

        – ระบายอากาศในพื้นที่และล้างบริเวณที่หกรั่วไหลหลังจากสารเคมีถูกเก็บกวาดเรียบร้อยแล้ว

        – การพิจารณาการกำจัดให้ เผาไหม้สารเคมีนี้ในเตาเผาสารเคมีที่มีอุปกรณ์หัวเผาขั้นที่สอง และอุปกรณ์กำจัดมลพิษ

        – ให้ระมัดระวงการเผาไหม้ เนื่องจากสารนี้เป็นสารไวไฟมาก

        การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12286194_10207269044497867_168388570_n 

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 1250 ppm ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) ซึ่งมี Cartridge สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 1400 ppm ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า และ Cartridge สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อม tight-fitting facepiece และCartridge สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

               – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

                ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister สำหรับป้องกันไอระเหยสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าผู้ป่วยหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป :      ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป และผู้ป่วยยังมีสติอยู่ในบ้วนปากด้วยน้ำ แล้วนำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้า และรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก และให้ล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปรื้อนก่อนนำมาใช้อีกครั้ง

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที และให้มั่นใจว่าฉีดล้างตาสะอาดทั่วถึงโดยใช้นิ้วถ่างแยกเปลือกตาออกขณะทำการล้าง

        อื่นๆ :ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                – เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เป็นพิษต่อปลา และแพลงตอน

                – ไม่ส่งผลอันตรายต่อระบบบำบัดน้ำทิ้ง หากมีการใช้และจัดการสารเคมีอย่างเหมาะสม

                – สารนี้สามารถเกิดการสลายตัวทางชีวภาพได้ดี

                – สารนี้มีทบอโนมิในการสะสมทางชีวภาพต่ำ

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  1450

        OSHA NO. :   

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :         

        ข้อมูลอื่น ๆ : 

                – การเก็บตัวอย่างใช้ coconut shell charcoal 100 mg./50 mg.

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 0.01 ถึง 0.2 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด 1 ลิตร , 10 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          16

        DOT Guide :               129

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557