Butan-2-ol

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   2-Butanol

        ชื่อเคมีทั่วไป     Sec-Butyl Alcohol

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Sec-Butanol; Ethyl Methyl Carbinol; 1-Methylpropyl Alcohol; Butan-2-ol; Methylethylcarbinol; 1-Methyl-1-propanol; Hydroxybutane; Methyl-1-propanol;

        สูตรโมเลกุล      C4H10O

        สูตรโครงสร้าง        สไลด์126

        รหัส IMO         12286089_10207247452278075_1668521281_n

        CAS No.        78-92-2

        รหัส EC NO.    –

        UN/ID No.      1120             

        รหัส RTECS     EO 1750000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         201-158-5

        ชื่อวงศ์  Secondary aliphatic alcohol/ Secondary alkanol / Secondary alkyl alcohol

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า           –

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ CHEMINFO

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 71-36-3         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการผลิตสารเมทิลเอทิลดีโตน ใช้เป็นตัวทำละลายสี เป็นสารยึดติด ใช้ในการผลิตเรซิน และแลกเกอร์ ใช้ในการสกัดโปรตีนจากปลา , เป็นส่วนประกอบไนน้ำมันไฮดรอลิก เป็นสารประกอบในการทำสารทำความสะอาดและน้ำหอม
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 6480 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :      –

        IDLH(ppm) :    2000(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :       100(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       100 (ppm)      

        TLV-STEL(ppm) :   –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535:      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : หวาน

        นน.โมเลกุล :   74.12

        จุดเดือด(0ซ.) :  99.5

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -89

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.808

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    2.55

        ความหนืด(mPa.sec) :    3.5

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  12 ที่ 200ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  12.5 ที่ 200ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  เป็นกลาง

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =    3.03

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.331ppm ที่250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :   ละลายได้ในเอทานอล อะซีโตน ไดเอทิล อีเธอร์ เบนซีน

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองจมูกและคอ ทำให้มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ เหนื่อยง่าย วิงเวียน ถ้าได้รับสารปริมาณมาก ทำให้หมดสติ ถ้าสารเข้าไปในปอดทำให้เกิดปอดอักเสบ หัวใจล้มเหลวและอาจทำให้เสียชีวิต

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่นแดง ผิวแห้ว ผิวแตก สารนี้ดูดซึมผ่านผิวหนัง

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคือง ปาก คอ และท้อง ทำให้ปวดศีรษะ วิงเวียน งง คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ารุนแรงทำให้หมดสติ และมีอาการโคม่า

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ตาแดง

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ สารนี้ทำลายตา ผิวหนัง ระบบหายใจ ระบบประสาทส่วนกลาง

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียร

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : โลหะอัลคาไลน์ ทำให้เกิดการระเบิด กรด กรดคลอไรด์ กรดแอนไฮไดรส์ ทำปฏิกิริยาคลอรีน ไอโซไซยาเนต และเอทิลีนออกไซด์ ทำให้เกิดการติดไฟและการระเบิด

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ประจุไฟฟ้า การเสียดสี แสงสว่าง

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : เมื่อเก็บสารเป็นเวลานานทำให้เกิดสารเปอร์ออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :             24

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    405

ค่า LEL % :     1.7

        UEL % :        9.8

        NFPA Code :   12277993_10207269065218385_747999914_n

        สารดับเพลิง : ให้ใช้โฟมแอลกอฮอล์ ผงเคมีแแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์

                – สารนี้ไวไฟ ไอระเหยสามารถลุกติดไฟเมื่อมีประจุไฟฟ้าสถิตย์

                – ส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศสามารถทำให้เกิดการระเบิดที่อุณหภูมิมากกว่า 24 องศาเซลเซียส

                – ไอระเหยของสารสามารถแพร่กระจายออกไปถึงแหล่งจุดติดไฟและอาจเกิดการติดไฟและอาจเกิดการติดไฟย้อนกลับมา

                – สารนี้เกิดการสะสมได้

                – น้ำใช้ในการดับเพลิงไม่ได้ผล เพราะไม่สามารถทำให้สารเป็นกว่าจุดวาบไฟได้

                – สารเคมีอันตรายจากการเผาไหม้ คาร์บอนมอนนอกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์

                – ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่สัมผัสเพลิงไหม้ และใช้น้ำลดการแพร่การจายของไอระเหย

                – ใช้น้ำดับเพลิงควรห่างจากแหล่งจุดติดไฟ

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                – เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บแยกจากสารไวไฟ การจุดสูบบุหรี่ ไม้ขีดไฟ แหล่งจุดติดไฟ

                – เก็บแยกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ต่อภาชนะบรรจุลงดินและใช้อุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ

                – บริเวณที่เก็บสารควรแยกจากบริเวณที่ทำงาน

                – อย่าเก็บสารไว้ใกล้ทางออก

                – ติดป้ายเตือนอันตราย

                – มีอุปกรณ์กับเพลิงและอุปกรณ์ทำความสะอาดในบริเวณเก็บสารเคมี

                – ให้สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ให้ไว้สำหรับสารนี้

                – เก็บไว้ในอุณหภูมิที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด

                – หลีกเลี่ยงการเกิดฝุ่น

                – ควรมีการทำความสะอาดบริเวณเก็บสารเคมี

                – ไม่ควรมีการตัด เชื่อม จุดบริเวณใกล้สารเคมี

                – อย่าใช้สารร่วมกับสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ติดฉลากที่ภาชนะบรรจุ

                – อย่านำสารที่ใช้แล้วนำกลับไปใส่ภาชนะบรรจุใหม่

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : Butanols

                ประเภทอันตราย : 3

                หมายเลข UN : 1120

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II, III

                ขนาดผลิตภัณฑ์ : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – อย่าเข้าไปในบริเวณสารหกรั่วไหลจนกว่าจะมีการทำความสะอาดเสร็จ

        – ทำความสะอาดโดยบุคคลที่มีความชำนาญ

        – ย้ายแหล่งจุดติดไฟออกจากบริเวณสารหกรั่วไหล

        – ให้หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยปราศจากความเสี่ยงอันตราย

        – ระบายอากาศบริเวณสารรั่วไหล

        – ป้องกันไม่ให้สารเคมีที่หกรั่วไหล ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ แม่น้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ

        – ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยทราย ดิน หรือวัสดุดูดซับที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสาร

        – เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดเพื่อนำไปกำจัด

        – ล้างบริเวณสารหกรั่วไหล หลังจากสารเคมีถูกเก็บกวาดเรียบร้อยแล้ว

        การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 1000 ppm : ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 2000 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมCartridge สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

               – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือ แบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

               – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        กินหรือกลืนเข้าไป :      ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป ห้ามไม่ให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ผู้ป่วยบ้วนล้างปากด้วยน้ำ อย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียนให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 240-300 ml เพื่อเจือจางสารในท้อง ถ้าเกิดอาการอาเจียน นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 20 นาที หรือจนสารเคมีออกหมดนำส่งไปพบแพทย์ทันที ซักทำความสะอาดเสื้อผ้า และรองเท้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 20 นาที หรือจนกว่าสารเคมีออกหมด ใช้นิ้วถ่างแยกเปลือกตาออก ถ้าให้น้ำล้างตาไหลมาโดนตาไม่ได้โดนสารเคมี นำส่งไปพบแพทย์ ถ้ายังมีอาการระคายเคือง

        อื่นๆ : ควรให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน และให้พักให้อบอุ่น

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                – ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

                – จะไม่ก่อเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากมีการใช้และจัดการกับสารอย่างเหมาะสม

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  1401

        OSHA NO. :   

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ : 

                – การเก็บตัวอย่างใช้ coconut shell charcoal 100 mg./50 mg.

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 0.01 ถึง 0.2 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด 1 ลิตร , 10 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          16

        DOT Guide :               129

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557