Chloroform

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   Trichloromethane

        ชื่อเคมีทั่วไป     Chloroform

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Methyl trichloride; Chloroform; Refrigerant R20; Formyl trichloride; Methane trichloride; Methenyl trichloride; Trichloroform; R 20; R 20 (refrigerant); Chloroform

        สูตรโมเลกุล      CHCl3

        สูตรโครงสร้าง      สไลด์129

        รหัส IMO       12305967_10207256021172292_1807016644_n

        CAS No.        67-66-3

        รหัส EC NO.    602-006-00-4

        UN/ID No.      1888            

        รหัส RTECS     FS 9100000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         200-633-8

        ชื่อวงศ์                     

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า           –

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ          –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 67-66-3         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นตัวทำละลายสกัดสาร,เป็นตัวทำละลายสารโพลีคาร์บอเนตและสารอื่นๆ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 908 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :          47702/ 4 ชั่วโมง(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    500(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :        2(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :       –

        PEL-C(ppm) :       50(ppm)

        TLV-TWA(ppm) :      10(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :       –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           ชนิดที่ 3

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : กลิ่นอีเทอร์

        นน.โมเลกุล :   119.38

        จุดเดือด(0ซ.) :  62

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -63.5

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.48

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    4.1

        ความหนืด(mPa.sec) :   0.56

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  160 ที่ 20 0ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  0.8 ที่ 200ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  4.88

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.21 ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่นๆ :

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปทำให้ร่างกายหมดความรู้สึกหรือสลบได้ทำให้ระคายเคืองต่อระบบการหายใจ และมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ถ้าหายใจเอาสารที่ความเข้มข้นสูงเข้าไปจะทำให้หมดสติ และถึงตายได้ ทำให้ไตถูกทำลาย ความผิดปกติของระบบเลือด การสัมผัสเป็นระยะเวลานาน จะทำนำไปสู่ความตายได้ ทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ ตับ และไตผิดปกติ

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง มีผื่นแดงและมีอาการเจ็บปวด ทำลายน้ำมันธรรมชาติในร่างกาย สารนี้สามารถซึมผ่านผิวหนังได้

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไปจะทำให้เกิดแผลไหม้บริเวณปาก,ลำคอ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก และอาเจียนได้ การกลืนเข้าไปในปริมาณมาก จะก่อให้เกิดอาการคล้ายกับการหายใจเข้าไป

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา ไอระเหยของสารเคมีนี้จะทำให้เกิดการเจ็บปวดและระคายเคืองต่อตา ถ้าสารเคมีกระเด็นเข้าตา จะทำให้เกิดระคายเคืองอย่างรุนแรง และอาจทำให้ตาบอดได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ อาการ: ถ้าสัมผัสไอระเหยของสารนี้เป็นระยะเวลานานหรือสัมผัสถูกสารเคมีบ่อยๆอาจจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจ ตับ และไต ถูกทำลายได้ ผลกระทบจากการสัมผัสกับของเหลวจะทำให้ไขมันถูกทำลายลง อาจจะทำให้ผิวหนังมีการระคายเคืองเรื้อรัง ทำให้ผิวหนังแห้ง และเกิดผิวหนังอักเสบได้ สารคลอโรฟอร์มนี้ถูกสงสัยว่าจะเป็นสารก่อมะเร็งต่อมนุษย์

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้จะเสถียรภายใต้การใช้และการเก็บอย่างปกติ

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารที่มีความกัดกร่อนอย่างรุนแรงและสารเคมีที่มีความว่องไว เช่น อลูมิเนียม ผงแมกนีเซียม โซเดียม หรือ โพแทสเซียม อะซิโตน ฟูโอลีนเมทธานอล โซเดียมเมททอกไซด์ ไดไนโตรเจน เตตตอกไซด์ เทิร์ท-บิวตอกไซด์ ไตร์ไอโซพิลฟอสไฟด์

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง: หลีกเลี่ยงแสง ความร้อน อากาศ และสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้หรือสลายตัวเนื่องจากความร้อน : เมื่อมีการสลายตัวจากความร้อน อาจก่อให้เกิดคาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนคลอไรด์ และฟลอจีน

                – อันตรายจากปฏิกิริยาโพลิเมอร์เซชั่น: ไม่เกิดอันตราย

                -เมื่อเปิดทิ้งไว้ในที่ที่มีแสง เป็นระยะเวลานานทำให้ pH ลดลง เนื่องจากการเกิดสารไฮโดรคลอลิก(HCI)

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :         

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :   

        ค่า LEL % :             

        UEL % :                

        NFPA Code :    200

        สารดับเพลิง : ไม่ระบุไว้

                – สารนี้ไม่ไวไฟ

                – อาจเกิดเพลิงไหม้ได้เมื่อสัมผัสกับความร้อนสูง

                – สารดับเพลิง ใช้วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการดับเพลิงโดยรอบ

                – ในเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้สวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด ต้านทางแสงแดด

                – เก็บในที่เย็น แห้งและมีการระบายอากาศที่ดี

                – ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

                – แยกออกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

        สถานที่เก็บ :

                – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายสำหรับงานบำรุงรักษาหรือในที่ซึ่งต้องสัมผัสกับสารเคมีนี้ในปริมาณมากเกิน

                – ภาชนะบรรจุสารนี้อาจเกิดอันตรายได้เมื่อเป็นถังว่างเปล่าเนื่องจากสารเคมีที่ตกค้างทั้งไอระเหยและของเหลวให้สังเกตป้ายเตอนและข้อระมัดระวังสำหรับสารนี้ทั้งหมด

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : คลอโรฟอร์ม (Cholroform)

                ประเภทอันตราย : 6.1

                หมายเลข UN : 1888

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม III

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : 4 ลิตร

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล ให้ระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนตัวที่เหมาะสม

        – ให้กั้นแยกพื้นที่ที่มีอันตรายออก

        – ไม่จำเป็นต้องควบคุมและปกป้องบุคคลที่จะเข้าไป

        – ให้เก็บและเอาของเหลวคืนกลับมาใช้ใหม่ถ้าเป็นไปได้

        – เก็บรวบรวมของเหลวในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมหรือดูดซับด้วยวัตถุเฉี่อยในการดูดซับสาร เช่น แร่หินทราย (vermiculite) ทรายแห้ง ดิน(earth)และเก็บใส่ในภาชนะบรรจุกากของเสียจากเคมี อย่าใช้วัสดุติดไฟได้ เช่นขี้เลื่อย

        – อย่าฉีดล้างลงท่อระบายน้ำ ให้มีการรายงานการหกรั่วไหลสู่ดิน น้ำ และอากาศมากเกินกว่าปริมาณที่ต้องรายงาน

        การกำจัด : วิธีการกำจัด ให้กำจัดตามข้อกำหนด กฎระเบียบของทางราชการกำหนดไว้

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : การเลือกประเภทถุงมือ

                – แนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Supported Polyvinyl Alcohol ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และควรมีอัตราการเสื่อมสภาพของถุงมือ (Degradation Rating) อยู่ในระดับดีมาก และไม่แนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Nitrile,Unsupported Neoprene ,Polyvinyl Chloride , Natural Rubber, Neoprene/Natural Rubber Blend

        ข้อแนะนำในการเลือกประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

                – ที่ช่วงความเข้มข้นที่เกิดกว่าค่ามาตรฐานที่ NIOSH แนะนำหรือที่ทุกช่วงความเข้มข้นที่สามารถวัดได้ : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

               – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า และอุปกรณ์กรองอนุภาคประสิทธิภาพ (HEPA filter) หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไป ควรเคลื่อนย้ายออกไปอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าผู้ป่วยหายใจลำบาก ควรให้ออกซิเจน และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

        กินหรือกลืนเข้าไป :      ถ้ากินหรือกลืนเข้าไป อย่ากระตุ้นให้เกิดอาเจียน ควรให้น้ำปริมาณมากๆ ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ห้ามไม่ให้สิ่งใดเข้าปากและให้อยู่ในความดูแลของแพทย์โดยทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          สัมผัสถูกผิวหนังให้ฉีดล้างผิวหนังโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมากๆอย่างน้อย 15 นาที และถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก ทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนนำมาใช้อีกครั้ง

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตาให้ล้างตาทันทีด้วน้ำปริมาณมากๆอย่างน้อย 15 นาที พร้อมกระพริบตาถี่ๆ ขณะทำการล้าง นำส่งไปพบแพทย์

        อื่นๆ :  นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลและควรแจ้งอาการให้แพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยควรได้รับการรักษาภายใน 24-48 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้มีผลกระทบต่อไต และตับได้ ของเหลวที่อยู่ภายในไตไม่สามารถช่วยป้องกันสารเคมีได้ ซึ่งสังเกตได้จากการนำน้ำปัสสาวะของผู้ป่วยมาวิเคราะห์และทดสอบกลูโคสที่อยู่ในเลือด เอ็กซเรย์หน้าอก และตรวจสอบสถานะของไหล/อิเล็กโตรไลท์ ไดฟัลฟิรัม ซึ่งอยู่ในเมตตาบยอลิซึม และอาหารของผู้ป่วยที่มี คาร์บอไฮเดตรสูง จะสามารถป้องกันและต่อต้านสารพิษจากคลอโฟอร์มได้ โดยที่ไม่จะเป็นต้องให้น้ำเกลือ ตรวจสอบได้จากการเพิ่มขึ้นของบิลิโรบิน

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         – ข้อมูลทางนิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อมถูกทำลายเสียหาย เมื่อรั่วไหลสู่ดิน

        – สารนี้คาดว่าจะถูกชะล้างลงสู่น้ำใต้ดิน

        – สารนี้คาดว่าจะมีการระเหยอย่างรวดเร็ว เมื่อรั่วไหลสู่น้ำ

        – สารนี้คาดว่าจะมีการสลายตัวไปครึ่งหนึ่ง (halrtife) ภายในเวลาน้อยกว่า 1-10 วัน

        – คลอโรฟอร์มจะมีลอกออกทนนอลน้อยกว่า 3 ของสัมประสิทธิ์ส่วนของน้ำ

        – สารนี้ไม่สามารถคาดได้ว่าจะสะสมสิ่งมีชีวิตได้เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

        – สารนี้จะสลายตัวได้ปานกลางโดยทำปฏิกิริยากับสารไฮดรอกซิล เรดิคอล ที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีกับแสง เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

        – สารนี้จะสลายตัวโดยการสังเคราะห์แสงได้ปานกลาง เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

        – สิ่งของนี้ถูกขนย้ายจากบรรยากาศเมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

        – สารนี้คาดว่าจะมีการสลายตัวไปครึ่งหนึ่ง (halrtife) ภายในเวลามากกว่า 30 วัน

        – ความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม: สารนี้เป็นพิษต่อสิ่งมีชิวิตในน้ำ

        – ค่าความเข้มข้นที่ทำให้ปลาตายกว่าร้อยละ 50 LC 50ภายใน 96 ชั่วโมงมีค่ามากกว่า 1-100 มิลลิกรัมต่อลิตร

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  1003

        OSHA NO. :    ไม่ระบุไว้

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ :   

                – การเก็บตัวอย่างใช้ : coconut shell charcoal 100mg/ 50 mg

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง : 0.01-0.2 ลิตรต่อนาที

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          36

        DOT Guide :               151

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557