Dibutylamine

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   N-butyl-1-butanamine

        ชื่อเคมีทั่วไป     Dibutylamine

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Di-n-butylamine; N,N-dibutylamine; N-dibutylamine

        สูตรโมเลกุล      C8H19N

        สูตรโครงสร้าง      สไลด์131

        รหัส IMO       12286089_10207247452278075_1668521281_n12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.        111-92-2

        รหัส EC NO.    –

        UN/ID No.      2248            

        หัส RTECS     HR 7780000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         203-921-8

        ชื่อวงศ์                     Saturated aliphatic amine

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า           –

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ          CHEMINFO

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 111-92-2         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชั่นของฟอมัลดีไซด์ ใช้เป็นสารยับยั้งการกัดกร่อน ใช้เป็นตัวทำละลายใช้ในกระบวนการผลิตยาฆ่าแมลง พอลิเมอร์ ยาง ย้อมผ้า
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 550 , 189 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :              >2/ – ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    –

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :       N/E

        PEL-STEL(ppm) :       –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :      N/E

        TLV-STEL(ppm) :       –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : กลิ่นคล้ายแอมโมเนีย

        นน.โมเลกุล :   129.28

        จุดเดือด(0ซ.) :  159

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : (-60)-(-59)

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.76

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    4.5

        ความหนืด(mPa.sec) :    0.9

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  1.9-2.2 ที่ 20 0ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  0.31

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  12.2

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  5.29

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =          0.19 ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่นๆ : สารนี้สามารถละลายได้ในแอลกอฮอล์

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปไอระเหยและละอองสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูก คอ ปอด เกิดอาการเจ็บคอ ไอ เจ็บหน้าอก หายใจถี่รัว หายใจติดขัด ที่ความเข้มข้นสูงๆ จะทำให้ปอดบวม และอาจถึงตายได้ รวมทั้งอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้ เป็นลมหมดสติ จิตใจกังวล ซึ่งเป็นอาการของระบบประสาท

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง ปวดแสบปวดร้อน แผลไหม้ สัมผัสนาน ๆ สารนี้อาจซึมผ่านผิวหนังได้ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้ เป็นลมหมดสติ จิตใจกังวล ซึ่งเป็นอาการของระบบประสาท

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหนือกินเข้าไปจะทำให้เกิดแผลไหม้ที่ปาก ลำคอ ระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้ เป็นลมหมดสติ จิตใจกังวล ซึ่งเป็นอาการของระบบประสาท

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาอย่างรุนแรง ตาแดง เจ็บตา สัมผัสมากๆ อาจเกิดแผลไหม้ และปวดเจ็บอย่างถาวร สายตาพร่ามัว

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ สารนี้ทำลายตา และระบบหายใจ

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียร

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดซ์อย่างแรง คาร์บอนไดออกไซด์ สังกะสี เหล็กชุบสังกะสี และทองแดง

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง: ความร้อน และความเย็นสูง ๆ

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้หรือสลายตัวเนื่องจากความร้อน : คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :           41

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :   260

        ค่า LEL % :     1.1     

        UEL % :        10     

        NFPA Code :    320

         สารดับเพลิง : ผงเคมีแห้ง แอลกอฮอล์โฟม โฟลีเมอร์โฟม คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฉีดเป็นฝอย

                – สารนี้เป็นสารติดไฟได้

                – สามารถเกิดการระเบิดได้เมื่อผสมกับอากาศที่อุณหภูมิสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส

                – ในระหว่างเกิดเพลิงไหม้ จะเกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ที่ทำให้ระคายเคืองและเป็นพิษ

                – สารดับเพลิงไห้ใช้ ผงเคมีแห้ง แอลกอฮอล์โฟม โฟลีเมอร์โฟม คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฉีดเป็นฝอย

                – ให้อพยพบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่เพลิงไหม้ ควรอยู่หนือลมเพื่อป้องกันควันพิษ

                – ใช้น้ำฉีดดับเพลิงเพื่อหล่อเย็นและปกป้องสารเคมีสัมผัสถูกเพลิงไหม้

                – สวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในที่เย็น และแห้ง มีการระบายอากาศดี

                – เก็บห่างจากแสงสว่างและแหล่งความร้อนต่าง ๆ

        สถานที่เก็บ :

                – บริเวณที่เก็บควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ทำงาน

                – ไม่ควรมีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่เก็บสาร

                – เก็บห่างจากสารออกซิไดซ์ สารกัดกร่อย กรดแก่ กรดคลอไรด์หรือปรอท

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – ก่อนการเคลื่อนย้ายควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : Di-n-butylamine

                ประเภทอันตราย : 8 , 3

                หมายเลข UN : UN 2248

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – จำกัดพื้นที่จนกว่าจะทำความสะอาดเสร็จ สวมชุดป้องกันให้อยู่ในที่ที่มีการถ่ายเทอากาศ ดับหรือเคลื่อนย้ายแหล่งจุดติดไฟออกไปทั้งหมด

        – สารหกเล็กน้อย ใช้วัสดุดูดซับคลุมสารที่หกรั่วไหลออกมา และเก็บสารในภาชนะบรรจุที่เหมาะสม เก็บให้มิดชิด ติดฉลากและล้างบริเวณที่สารหกด้วยน้ำ

        – สารหกปริมาณมาก ติดต่อหน่วยงานฉุกเฉินเพื่อขอคำแนะนำ

        การกำจัด : วิธีการกำจัด ให้กำจัดตามข้อกำหนด กฎระเบียบของทางราชการกำหนดไว้

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12309022_10207269202381814_1401123889_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ไม่ระบุไว้

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป :      ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป ห้ามให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยหมดสติ ล้างปากด้วยน้ำสะอาด อย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 240 ถึง 300 มิลลิลิตร (8 ถึง 10 ออนซ์) เพื่อเจือจางสารเคมีในกระเพาะอาหาร (หรือนมก็ได้ ) ถ้าผู้ป่วยเกิดอาเจียนเอง ให้ดื่มน้ำอีก แล้วนำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด 20-30 นาที ถ้ามีอาการระคายเคืองให้ฉีดน้ำล้างต่อไป พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก นำส่งไปพบแพทย์ ทิ้งเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารไป

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดน้ำไหลผ่าน 20-30 นาที เปิดเปลือกตาขณะล้างด้วย ใช้น้ำเกลือล้างตาถ้าจำเป็น อย่าให้น้ำล้างตาไหลโดนหน้าหรือตา ถ้าอาการระคายเคืองอยู่ให้ล้างตาต่อไป นำส่งไปพบแพทย์

        อื่นๆ :  ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         – ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดิน
มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  2010

        OSHA NO. :    95-3

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :     

        วิธีการวิเคราะห์ :         

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – การเก็บตัวอย่างใช้ silica gel sorbent tube

                – การวิเคราะห์ตัวอย่างใช้ GC ที่มี flame ionization detector

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          38

        DOT Guide :               132

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
         อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557