Diethanolamine

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   N,N-Diethanolamine

        ชื่อเคมีทั่วไป     Diethanolamine

        ชื่อพ้องอื่นๆ      2,2′-Iminobisethanol; Diethylolamine; Bis(2-hydroxyethyl)amine; DEA; Diolamine; N,N-Diethanolamine; Bis(hydroxyethyl)amine; 2,2′-Dihydroxydiethylamine; Iminodiethanol

        สูตรโมเลกุล      C4H11NO2

        สูตรโครงสร้าง      สไลด์133

        รหัส IMO    –

        CAS No.        111-42-2

        รหัส EC NO.    603-071-00-1

        UN/ID No.      1719            

        รหัส RTECS     KL 2975000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         203-868-0

        ชื่อวงศ์                    

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า          J.T. Baker

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ          –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 111-42-2         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการทำสารน้ำมัน LPG ให้บริสุทธิ์, เป็นตัวทำละลาย , ใช้ในการผลิตก๊าซธรรมชาติ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) :  710 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :              –

        IDLH(ppm) :     –

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :        –

        PEL-STEL(ppm) :       –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :      0.46(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :      –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :  –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ผลึก,ของแข็ง

        สี : ไม่มีสี

        กลิ่น : กลิ่นแอมโมเนีย

        นน.โมเลกุล :   105.14

        จุดเดือด(0ซ.) :  269

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 28

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.09

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    3.65

        ความหนืด(mPa.sec) :      350

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  5 ที่ 138 0ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  ละลายได้ ที่ 20 0ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :   11.0 ที่ 20 0ซ.

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =    4.30

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =          0.23 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่นๆ :

                – สารนี้สลายตัวที่อุณหภูมิ 270 องศาเซลเซียส

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ :  การหายใจเอาสารที่ความดันไอต่ำ เข้าไป จะทำให้เกิดอันตรายเพียงเล็กน้อยเว้นแต่สารจะถูกทำให้เกิดความร้อนหรืออยู่ในรูปของละออง ไอระเหยหรือละอองของสารจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ จาม ไอและอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้

        สัมผัสทางผิวหนัง :  การสัมผัสถูกผิวหนัง จะทำให้การระคายเคืองและเกิดผื่นแดง ถ้าสัมผัสสารละลายหรือสัมผัสสารในสภาพที่เสื้อผ้าเปียกจะทำให้เกิดแผลไหม้ได้ การสัมผัสสารนี้ครั้งเดียวเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้ สารนี้สามารถดูดซึมผิวหนังได้ ไม่น่าจะมีผลให้เกิดอันตรายได้จากการดูดซึมผ่านผิวหนังแต่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้

        กินหรือกลืนเข้าไป :  การกินหรือกลืนเข้าไปในปริมาณน้อยจะไม่เป็นพิษมากนักแต่ถ้ากลืนหรือกินในปริมาณมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุเมือกทำให้เกิดอาการ ปวดช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง ปริมาณสารที่รับเข้าไปแล้วทำให้เสียชีวิตได้ คือ20 กรัม ตัวทำละลายและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับสารนี้จะมีฤทธิ์ไปกดระบบประสาทส่วนกลางแต่สำหรับสารไดเอทิลโนลามีนนี้ ยังไม่ทราบ แน่นอนว่าทำให้เกิดผลดังกล่าวหรือไม่

        สัมผัสถูกตา :  การสัมผัสถูกตา ทำให้เกิดการระคายเคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง และปวดตา ซึ่งการสัมผัสอาจทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง และเกิดการบาดเจ็บที่กระจกตาได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ :  การสัมผัสเรื้อรัง การสัมผัสสารทางผิวหนังเป็นระยะเวลานาน หรือการสัมผัสบ่อยครั้งจะทำให้เกิดอาการอักเสบของผิวหนัง จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าอวัยวะเป้าหมายของสารนี้คือ ตับ และไต

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียรภายใต้สภาวะปกติของการใช้และเก็บสารนี้เป็นสารดูดความชื้น (Hygroscopic)

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์,ทองแดง,โลหะผสมทองแดง,เหล็กกัลวาไนซ์, ตัวทำละลายอินทรีย์ฮาโลเจน,กรด และสารออกซิไดซ์ สารละลายเข้มข้นหรือที่อุณหภูมิจะเกิดปฏิกิริยาที่อันตรายได้สาร N-nitrosamines ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อสารนี้สัมผัสกับกรดไนตรัส ไนเตรท หรือบรรยากาศที่มีความเข้มข้นของไนตรัสออกไซด์สูง

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง: ความร้อน,เปลวไฟ,แหล่งจุดติดไฟ,สารที่เข้ากันไม่ได้,แสงสว่าง และอากาศ

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้หรือสลายตัวเนื่องจากความร้อน : การลุกไหม้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :          130

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    662

        ค่า LEL % :     1.6

        UEL % :        9.8     

        NFPA Code :    310

         สารดับเพลิง : ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้ง โฟมที่เหมาะสม

                – อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างไอระเหยของสารกับ อากาศ เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดวาบไฟ อาจก่อให้เกิดการระเบิดได้

                – ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่ถูกเพลิงไหม้

                – การใช้น้ำหรือโฟมในการดับเพลิงอาจจะทำให้เกิดฟองได้

                – ในการดับเพลิงจะต้องสวมใส่ชุดป้องกันสารเคมี และอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้าที่ผ่านการรับรองจาก NIOSH

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดและป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

                – เก็บในที่ที่อากาศเย็น แห้ง และมีการระบายอากาศดี

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บให้ห่างจากความร้อน เปลวไฟ แสงแดด ความชื้นและสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ห้ามเติมสารพวกไนโตรต์ เนื่องจากจะทำให้เกิดสารพวก nitrosamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

                – ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการเก็บหรือใช้สารนี้

                – สารสามารถจุดไหม้ได้เองแม้อุณหภูมิจะต่ำกว่าจุดลุกติดไฟ

                – ภาชนะบรรจุของสารนี้ทำเป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ไอระเหย,ของเหลว อาจก่อให้เกิดอันตรายได้

                – ให้สังเกตุคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ให้ไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : ไม่ระบุไว้

                ประเภทอันตราย : ไม่ระบุไว้

                หมายเลข UN : ไม่ระบุไว้

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : ไม่ระบุไว้

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล ให้ระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ให้เคลื่อนย้ายแหล่งของการจุดติดไฟทั้งหมดออกไป

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม

        – กั้นแยกพื้นที่อันตรายออก

        – ห้ามให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่จะเป็นหรือไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเข้าไปในบริเวณที่มีการหกรั่วไหล

        – เก็บและเอาของเหลวคืนกลับมาใช้ใหม่ถ้าเป็นไปได้

        – ให้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ

        – เก็บรวบรวมของเหลวใส่ในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมหรือดูดซับด้วยวัสดุเฉื่อย เช่น แร่หินทราย (Vermiculite) ทรายแห้ง ดิน(Earth) และเก็บใส่ในภาชนะบรรจุกากของเสียจากเคมี

        – อย่าใช้วัสดุติดไฟ เช่นขี้เลื่อย ในการดูดซับสาร

        – อย่าฉีดล้างลงท่อระบายน้ำ

        การกำจัด : วิธีการกำจัด ให้กำจัดตามข้อกำหนด กฎระเบียบของทางราชการกำหนดไว้

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12309022_10207269202381814_1401123889_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ไม่ระบุไว้

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
        หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าผู้ป่วยหายใจลำบาก ให้ออกซิเจน นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป :      ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป อย่ากระตุ้นให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำมากๆ สำหรับผู้ป่วยที่หมดสติห้ามนำสิ่งใดเข้าปากผู้ป่วย นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังด้วยน้ำและสบู่ปริมาณมากๆ อย่างน้อง 15 นาที พร้อมกับถอดเสื้อผ้า และรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก นำส่งไปพบแพทย์ ทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนนำมาใช้อีกครั้ง

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที ให้ใช้นิ้วเปิดเปลือกตาให้กว้างและล้างอีกครั้งจนมั่นใจว่าสารเคมีออก

        อื่นๆ :   ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ : สิ่งแวดล้อมถูกทำลายเสียหาย

                – สารนี้คาดว่าจะสลายตัวทางชีววิทยาได้ง่ายเมื่อรั่วไหลสู่ดิน

                – สารนี้คาดว่าจะถูกชะล้างลงสู่น้ำใต้ดิน

                – สารนี้คาดว่าจะสลายตัวทางชีววิทยาได้ง่ายเมื่อรั่วไหลสู่น้ำ

                – สารนี้คาดว่าจะมีการสลายตัวไปครึ่งหนึ่ง (half-life) ภายในเวลาน้อยกว่า 10-30 วัน เมื่อรั่วไหลสู่น้ำ

                – สารนี้คาดว่าสามารถสลายตัวได้ง่ายโดยทำปฏิกิริยาเคมีเมื่อถูกแสงทำให้เกิดไฮดรอกเรดิเคล เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

                – สารนี้คาดว่าตัวประกอบความเข้มข้นทางชีวภาพ (BCF) โดยประมาณน้อยกว่า 100

                – สารนี้ไม่สามารถคาดได้ว่าจะสะสมสิ่งมีชีวิตได้ ความเป็นพิษต่อสิงแวดล้อม : ไม่พบข้อมูลที่ต้องการค้นหา

                – สารนี้มีแนวโน้มในการสะสมทางชีวภาพต่ำ

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  3509

        OSHA NO. :   PV 2018

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      อิมพิ้นเจอร์

        วิธีการวิเคราะห์ :         

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – วิธีการวิเคราะห์ให้ใช้ ION CHROMATOGRAPHY

                – O2 0.5 ถึง 1 ลิตรต่อนาที

                – O3 5 ลิตร , 300 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          39

        DOT Guide :               154

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557