Furaldehyde

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   Furfural

        ชื่อเคมีทั่วไป     Furfural

        ชื่อพ้องอื่นๆ      2-Furaldehyde; Furfuraldehyde; 2-Furancarboxaldehyde; Fural; Pyromucic aldehyde; 2-Furanaldehyde; 2-Furancarbonal; 2-Furfural; Alpha-furole; 2-Furylmethanal; Artificial ant oil; Artificial oil of ants; U1199; Fufural; Furaldehyde; 2-Formyl furan; Alpha-Furfuraldehyde; Furfural

        สูตรโมเลกุล      C5H4O

        สูตรโครงสร้าง      สไลด์136

        รหัส IMO   12286089_10207247452278075_1668521281_n12305967_10207256021172292_1807016644_n

        CAS No.        98-01-1

        รหัส EC NO.    –

        UN/ID No.      1199            

        รหัส RTECS     –

        รหัส EUEINECS/ELINCS         202-627-7

        ชื่อวงศ์                    

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า          –

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ          –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 98-01-1         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : เป็นสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) :   65  (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :   175/ 6 ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :     100(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :        2(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :       –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :      2(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :      –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           ชนิดที่ 2

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ไม่มีสี -เหลืองอ่อน

        กลิ่น : คล้ายอัลมอนด์

        นน.โมเลกุล :   96.09

        จุดเดือด(0ซ.) :  162

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -39

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.16

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    3.3

        ความหนืด(mPa.sec) :      –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :    1 ที่ 18.5 0ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  8

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :    –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =     3.93

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.25 ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่นๆ :

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ :   การหายใจเข้าไป จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุเมือก ทางเดินหายใจส่วนบน เกิดอาการเจ็บคอ หายใจลำบาก ปวดศีรษะ ที่ความเข้มข้นสูง ๆ จะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ปอดบวม และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

        สัมผัสทางผิวหนัง :  การสัมผัสถูกผิวหนัง จะก่อให้เกิดการระคายเคือง ผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนัง ภูมิแพ้ สารนี้สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ และจะส่งผลต่อระบบของร่างกาย

        กินหรือกลืนเข้าไป :  การกลืนหรือกินเข้าไป สารนี้เป็นพิษสูง จะทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติ ประสาทถูกกด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาจเสียชีวิตได้

        สัมผัสถูกตา :  การสัมผัสถูกตา จะทำให้เกิดการระคายเคือง น้ำตาไหล คัน ตาแดง ตาบวม

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ :  อาจจะเป็นสารก่อมะเร็งได้ จากการศึกษาพบว่าเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ การสัมผัสถูกสารนี้นานๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ ชักอัมพาต และเมื่อรับเป็นเวลานาน จะทำให้อันตรายต่อตับ ไต

        สัมผัสเรื้อรัง : ทำให้ลิ้นชา ไม่รู้สึกรสชาติ ปวดศีรษะ

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียรที่อุณหภูมิห้อง และอยู่ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม เมื่อสัมผัสถูกแสง

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดซ์อย่างแรง กรด เบส

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง: ความร้อน เปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟ และสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้หรือสลายตัวเนื่องจากความร้อน : การสลายตัว เมื่อได้รับความร้อนจะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง เมื่อถูกความร้อน หรือสัมผัสกับกรดแร่ หรืออัลคาไลท์

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :          60

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    315

        ค่า LEL % :     2.1

        UEL % :        19.3

        NFPA Code :    12309167_10207280591466534_937291503_n

         สารดับเพลิง : ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย ผงเคมีแห้ง แอลกอฮอล์โฟม หรือคาร์บอนไดออกไซด์

                – เป็นของเหลวและก๊าซไวไฟ

                – ส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศ สามารถระเบิดได้ภายในขีดจำกัดของการติดไฟ และอุณหภูมิสูงกว่าจุดวาบไฟ

                – จะทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับสารออกซิไดซ์ กรดแก่ เบส ทำให้เกิดเพลิงไหม้และระเบิดได้

                – ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท อาจเกิดระเบิดแตกได้เมื่อได้รับความร้อน

                – ไวต่อการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตย์

                – การฉีดน้ำเป็นฝอย จะช่วยในการควบคุมและหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่ถูกเพลิงไหม้ และฉีดล้างสารที่หกรั่วไหลให้ออกห่างจากการสัมผัสกับเพลิง และเพื่อเจือจางสารที่หกรั่วไหลให้เป็นส่วนผสมที่ไม่ไวไฟ

                – สวมใส่ชุดป้องกันอันตราย และอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) ที่ผ่านการรับรองจาก NIOSH พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

                – เก็บภายในที่เย็น แห้ง มีการระบายอากาศเป็นอย่างดี

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บห่างจากพื้นที่ที่อาจเกิดอัคคีภัยได้ และห่างจากสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ต่อสายดินและสายต่อพ่วงระหว่างถังในขณะที่ถ่ายเทสารเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าสถิตย์

                – เก็บและใช้ในบริเวณห้ามสูบบุหรี่

                – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ รวมทั้งตัวระบายอกาศชนิดป้องกันการระเบิดได้

                – ภาชนะบรรจุนี้อาจจะเป็นอันตรายได้เมื่อเป็นถังเปล่า เนื่องจาก มีกากสารเคมีตกค้าง เช่น ไอระเหย ของเหลว

                – ให้สังเกตุดูป้ายเตือนอันตรายทุกชนิดสำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : FURFURALDEHYDES

                ประเภทอันตราย : 6.1, 3

                หมายเลข UN : ไม่ระบุไว้

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – ระบายอากาศในบริเวณที่มีการหกรั่วไหล

        – เคลื่อนย้ายแหล่งของการจุดติดไฟออกให้หมด

        – สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ( PPD / PPE ) ให้เหมาะสม

        – กั้นแยกพื้นที่อันตราย

        – ควบคุม / ป้องกันบุคลที่ไม่มีหน้าที่จำเป็น และไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเข้าไป

        – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ

        – เก็บกักของเหลวใส่ในภาชนะบรรจุกากของเสียสารเคมี เพื่อนำไปกำจัดต่อไป ห้ามใช้สารดูดซับที่ติดไฟได้ เช่น ขี้เลื่อย

        – อย่าฉีดล้างลงท่อระบายน้ำ ถ้าสารที่หกรั่วไหลและไม่ติดไฟ ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย เพื่อลดการแพร่กระจายของไอระเหย และเพื่อป้องกันบุคคลที่พยายามจะเข้าไปหยุดการรั่วไหล และฉีดไล่ส่วนที่หกรั่วไหลให้ออกห่างจากการสัมผัสถูกเพลิงไหม้

        การกำจัด : วิธีการกำจัด ให้กำจัดตามข้อกำหนด กฎระเบียบของทางราชการกำหนดไว้

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12286194_10207269044497867_168388570_n 12282808_10207269089578994_74654600_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 50 ppm. : ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF.=10 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator)โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF.=10

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน100 ppm. : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF.=25 หรือ ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF.= 50 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge)โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF.= 25 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี canister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF.= 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

               – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

       – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า อุปกรณ์กรองอนุภาพประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป :      ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป และยังมีสติอยู่ให้ดื่มน้ำหรือน้ำปริมาณมาก ๆ อย่าให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างทำความสะอาดด้วยสบู่ และน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก นำส่งไปพบแพทย์ ล้างทำความสะอาดก่อนนำมาใช้อีกครั้ง

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที กระพริบตา ขึ้น-ลง บ่อย ๆ เพื่อให้มั่นในว่าล้างออกหมด นำส่งไปพบแพทย์

        อื่นๆ :  ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         – เป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ

        – ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  2529

        OSHA NO. :   72

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – การเก็บตัวอย่างใช้ : coconut shell charcoal 100 mg/ 50mg

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง : 1 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด : สูงสุด 180 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :  19

        DOT Guide :   132

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557