จุดวาบไฟ (Flash point) : อุณหภูมิต่ำสุด ที่ทำให้ของเหลวกลายเป็นไอเพียงพอต่อการเริ่มต้นลุกไหม้ขึ้นเมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ แต่มีไม่เพียงพอที่จะลุกติดไฟได้อย่างต่อเนื่อง จุดวาบไฟเป็นประโยชน์ในการแบ่งประเภทของสารเคมีว่าเป็นสารไวไฟ (Flammable) สารติดไฟได้ (Combustible) และสารไม่ติดไฟ (Non-combustible) ตามมาตรฐาน NFPA 30
ประเภท | อุณหภูมิ ( °F) | ตัวอย่างสารเคมี | |
จุดวาบไฟ | จุดเดือด | ||
สารไวไฟ (Class I) | <100 | – | |
– Class 1A | 73 | 100 | Butane, 2-Butyne, Dichlorosilene , Divinylether, Dimethyl sulfide |
– Class 1B | 73 | 100 | Acetone, Benzene, Butyl Alcohol, Acrolein |
– Class 1C | 73 | 100 | t-Buthylaminoethyl methacrylate |
สารติดไฟได้(Class II, III) | <100 | – | |
– Class II | 100 | 140 | b -(p-t-Bulylphenoxy) ethanol |
– Class III A | 140 | 200 | Chlroacetic acid, chloropentane |
– Class III B | 200 | – | Cyanamide, Diethyl meliate |
การทดสอบจุดวาบไฟสามารถทดสอบได้ 2 วิธี คือ Open Cup (OC) และ Closed Cup (CC) จุดวาบไฟที่ระบุใน NFPA 49 ทั้งหมดจะเป็นอุณหภูมิที่หาจากวิธี Closed Cup ซึ่งเป็นตัวเลขสำหรับใช้อ้างอิงการเกิดจุดวาบไฟในถังปิด บริเวณที่อับอากาศ แต่ถ้าเป็นการทดสอบแบบ Open Cup จะใช้ตัวเลขในการอ้างอิงกับสถานการณ์สารเคมีหกรั่วไหล หรือภาชนะบรรจุที่เปิดฝาไว้