ดัชนี NFPA

        ดัชนี NFPA (National Fire Protection Association Code 704) : กำหนดดัชนีชี้บ่งอันตรายจาก สารเคมีต่อสุขภาพอนามัย ความไวไฟ การเกิดปฏิกิริยา โดยการกำหนดเป็นระดับตัวเลข 0-4 อยู่บน สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 4 ชิ้น เรียงกันหรือ Diamond Shape สำหรับข้อมูลพื้นฐานในการดับเพลิง การอพยพ ออกจากพื้นที่อันตราย โดยการแบ่งงสีเรียงลำดับได้ดังนี้

สีแดง       หมายถึง   ความไวไฟ

สีน้ำเงิน   หมายถึง   ผลของสารเคมี ที่มีต่อสุขภาพ

สีเหลือง   หมายถึง   ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา

สีขาว        หมายถึง  ข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม

 

ความหมายของแต่ละระดับ 1-4

ระดับ อันตรายต่อสุขภาพ ความไวไฟ การเกิดปฎิกิริยา

4

  • สารที่มีความเป็นพิษสูง มาก อาจทำให้สูญเสีย ชีวิตและเจ็บป่วยรุนแรง จากการสัมผัสในระยะสั้น ๆ
  • LD50 ทางปาก £ 5 มก./นน.กก.
  • LD50 ทางผิวหนัง £ 40 มก./นน.กก.
  • LC50 ทางหายใจ £ 1000 ppm
  • สารที่ระเหยกลายเป็นไอ ได้อย่างสมบูรณ์และรวดเร็วที่ อุณหภูมิและความดันปกติ
  • สารไวไฟ Class 1A ที่มี จุดวาบไฟต่ำกว่า 22.8 °ซ. จุดเดือดต่ำกว่า 37.8 °ซ.
  • สารที่สามารถลุกติดไฟได้เอง
  • สารที่สามารถระเบิดได้ง่ายด้วยตัวเอง จากการสลายตัวหรือการเกิดปฏิกิริยา ที่อุณหภูมิและความดันปกติ

3

  • สารที่มีความเป็นพิษสูง มากจากการเผาไหม้ สาร กัดกร่อนอย่างรุนแรง อาจเกิดการบาดเจ็บอย่าง รุนแรงเมื่อมีการสัมผัส ระยะสั้น
  • 5 < LD50 ทางปาก  50 มก./นน.กก.
  • 40 < LD50 ทางผิวหนัง  200มก./นน.กก
  • 1000 < LC50 ทาง หายใจ 3000 ppm
  • ของแข็งหรือของเหลวที่ สามารถลุกติดไฟได้ใน อุณหภูมิและความดันปกติ
  • สารไวไฟ Class IB และ IC
  • จุดวาบไฟต่ำกว่า 22.8 °ซ. จุดเดือดสูงกว่า 37.8 °ซ. และของเหลวที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 22.8 °ซ. จุดเดือดต่ำกว่า 37.8 °ซ
  • สารที่สามารถระเบิดได้ง่าย จากการสลายตัวหรือการเกิด ปฏิกิริยา แต่จะต้องมีแหล่งจุด ติดไฟหรือความร้อนจากภายนอก

2

  • สารที่อาจก่อการบาดเจ็บ เมื่อมีการสัมผัสในระยะสั้น
  • 50 < LD50 ทางปาก  500 มก./นน.กก.
  • 200 < LD50 ทางผิว หนัง 1000 มก./นน.กก
  • 2 < LC50 ทางหายใจ 10มก./ลิตร
  • สารที่ต้องให้ความร้อนปานกลาง หรืออุณหภูมิสูงก่อนจุดติดไฟ จะไม่ลุกไหม้ในบรรยากาศ ปกติเป็นของเหลวติดไฟได้ Class II และ III A ที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 37.8 °ซ. แต่ไม่เกิน 93.4 °ซ
  • สารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เกิด ปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำหรือ ทำให้เกิดส่วนผสมที่สามารถ ระเบิดได้กับน้ำ

1

  • สารที่ทำให้เกิดการระคาย เคือง และเจ็บป่วยเล็ก น้อยเมื่อสัมผัสในระยะสั้น
  • 500 < LD50 ทางปาก 2000 มก./นน.กก.
  • 1000 < LD50 ทางผิวหนัง 2000 มก./นน.กก.
  • 500 < LC50 ทางหายใจ  10,000 ppm
  • สารที่ต้องอุ่นทำให้ร้อน ก่อนจึงจะลุกติดไฟ หรือสัมผัส กับอุณหภูมิ 815.5 °ซ. เป็น เวลา 5 นาที หรือน้อยกว่า เป็นสาร ติดไฟได้ทั่ว ไป
  • เป็นสารติดไฟได้ทั่วไป Class III B
  • เป็นของแข็ง/ของเหลว ที่มีจุดวาบไฟสูงกว่า 93.4 °ซ
  • สารซึ่งปกติจะมีความเสถียร แต่จะไม่เสถียรเมื่ออุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น สารที่ เปลี่ยนแปลงหรือสลายตัวเมื่อ สัมผัสกับอากาศ แสง หรือความชื้น
0
  • สารที่ไม่ก่อให้เกิด อันตรายขณะเกิดเพลิง ไหม้
  • LD50 ทางปาก > 2000 มก./นน.กก.
  • LC50 ทางการหายใจ > 1000 ppm
  • สารไม่ติดไฟเมื่อสัมผัส กับความร้อนอุณหภูมิสูง 815.5 °ซ. เป็นเวลา 5 นาที
  • สารที่มีความเสถียรทั้งใน สภาวะปกติและเกิดเพลิงไหม้ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ

        สัญลักษณ์แสดงข้อมูลพิเศษ แทนด้วยสีขาวจะหมายถึง สารที่ถูกน้ำไม่ได้ (W) สารออกซิไดซ์ (OX) สารที่เป็นกรด (Acid) สารที่เป็นด่าง (Alk)