คลังเก็บป้ายกำกับ: Lye caustic

Sodium hydroxide

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   Sodium hydroxide

        ชื่อเคมีทั่วไป     –

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Caustic soda ; Lye; Sodium hydrate; Soda lye; White Caustic; Lye, caustic; Augus Hot Rod;

        สูตรโมเลกุล      NaOH

        สูตรโครงสร้าง   12305867_10207267928429966_653924403_n

        รหัส IMO   12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.        1310-73-2

        รหัส EC NO.    011-002-00-6

        UN/ID No.      1823            

        รหัส RTECS     WB 4900000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         215-185-5

        ชื่อวงศ์                  

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า        JT Baker Inc.

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ         –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 1310-73-2         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : เป็นสารเคมีในห้องปฏิบัติการ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) :    40  (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :              –

        IDLH(ppm) :     6.11(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :          –     

        PEL-STEL(ppm) :       –

        PEL-C(ppm) :       1.22(ppm)

        TLV-TWA(ppm) :         –

        TLV-STEL(ppm) :       –

        TLV-C(ppm) :      1.22 2mg/m3(ppm)

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของแข็ง

        สี : สีขาว

        กลิ่น : ไม่มีกลิ่น

        นน.โมเลกุล :   40.00

        จุดเดือด(0ซ.) : 1390

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 318

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        2.13

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    >1.4

        ความหนืด(mPa.sec) :        –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :    เล็กน้อย

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  111  ที่  200ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :    13-14 ที่ 200ซ.

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =   1.635

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.611ppm ที่250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่นๆ :

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ :  การหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคือง และทำให้เกิดการทำลายต่อทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการจาม ปวดคอ หรือน้ำมูกไหล ปอดอักเสบอย่างรุนแรง หายใจติดขัด หายใจถี่รั่ว

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองรุนแรง เป็นแผลไหม้ และเกิดเป็นแผลพุพองได้

        กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนหรือกินเข้าไป ทำให้แสบไหม้บริเวณปาก คอ กระเพาะอาหาร ทำให้เป็นแผลเป็น เลือดออกในกระเพาะอาหาร อาเจียน ท้องร่วง ความดันเลือดลดต่ำลง อาจทำให้เสียชีวิต

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา จะมีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เกิดการระคายเคืองรุนแรง เป็นแผลแสบไหม้ อาจทำให้มองไม่เห็นถึงขั้นตาบอดได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ การสัมผัสสารติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อ และสารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อ

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียรภายใต้สภาวะปกติของการใช้และการเก็บ

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : น้ำ, กรด, ของเหลวไวไฟ, สารประกอบอินทรีย์ของฮาโลเจน โดยเฉพาะไตรคลอโรเอทิลีน ซึ่งอาจก่อให้เกิดไฟหรือการระเบิด การสัมผัสไนโตรมีเทนและสารประกอบไนโตรทำให้เกิดเกลือที่ไวต่อการกระแทก

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง: ความชื้น, ฝุ่น และสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้หรือสลายตัวเนื่องจากความร้อน : โซเดียมออกไซด์ การทำปฏิกิริยากับโลหะเกิดก๊าซไฮโดรเจนที่ไวไฟ

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : ไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :            –

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    –

        ค่า LEL % :    

        UEL % :       

        NFPA Code :    12283181_10207269220502267_1469058426_n

         สารดับเพลิง : ไม่ระบุไว้

        – สารนี้ไม่ทำให้เกิดอันตรายจากเพลิงไหม้ สารที่ร้อนหรือหลอมอยู่จะทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ

        – สารนี้ทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น อะลูมิเนียม เกิดก๊าซไฮโดรเจนที่ไวไฟ

        – สารดับเพลิงกรณีเกิดเพลิงไหม้ให้เลือกใช้สารดับเพลิง/วิธีการดับเพลิง ที่เหมาะสมสำหรับสภาพการเกิดเพลิงโดยรอบ ห้ามใช้น้ำในการดับเพลิง

        – กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA)

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด ป้องกันการเสียหายทางกายภาพ

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                – เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บห่างจากความร้อน, ความชื้น, สารที่เข้ากันไม่ได้

                – เก็บห่างจากอะลูมิเนียม, แมกนีเซียม

                – ภาชนะบรรจุของสารที่เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่น ของแข็ง อาจเป็นอันตรายได้

                – อย่าผสมสารนี้กับกรดหรือสารอินทรีย์

                – ให้สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ให้ไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : Sodium Hydroxide

                ประเภทอันตราย : 8

                หมายเลข UN : 1832

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : 300 ปอนด์

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการปฏิบัติในกรณีเกิดการหกรั่วไหล ระบายอากาศบริเวณสารหกรั่วไหล

        – ป้องกันบุคคลเข้าไปในบริเวณสารรั่วไหล

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยทราย, แร่เวอร์มิคิวไลต์ หรือวัสดุดูดซับอื่น

        – เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดเพื่อนำไปกำจัด โดยวิธีไม่ทำให้เกิดฝุ่น

        – ป้องกันไม่ให้สารเคมีที่หกรั่วไหล ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ แม่น้ำ และแหล่งน้ำอื่น ๆ

        – สารที่หลงเหลืออยู่ สามารถทำให้เจือจางด้วยน้ำหรือทำให้เป็นกลางด้วยกรด เช่น อะซีติก, ไฮโดรคลอริก, ซัลฟูริก

        การกำจัด : วิธีการกำจัด ให้กำจัดตามข้อกำหนด กฎระเบียบของทางราชการกำหนดไว้

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12309022_10207269202381814_1401123889_n 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

        สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 125 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า และอุปกรณ์กรองอนุภาพประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) ซึ่งมีอุปกรณ์กรองฝุ่น และละอองไอ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

            – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

               – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister ที่สามารถป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ ฝุ่น ละอองไอ และฟูม ให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจลำบากให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป :      ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป อย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ให้ดื่มน้ำหรือนมปริมาณมากๆ ห้ามไม่ให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก นำส่งไปพบแพทย์ทันที ซักทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาโดยทันทีด้วยน้ำปริมาณมากๆอย่างน้อย 15 นาที พร้อมกระพริบตาถี่ๆ นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        อื่นๆ : 

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                – ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

                – สารนี้ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

                – สารนี้เป็นพิษต่อปลาก และแพลงค์ตอน ซึ่งส่งผลเป็นอันตรายเนื่องจากเปลี่ยนแปลงพีเอช อาจทำให้ปลาตายได้

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. : 7401

        OSHA NO. : 

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      กระดาษกรอง

        วิธีการวิเคราะห์ :         

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – วิธีวิเคราะห์ใช้ acid – base titration

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 1 ถึง 4 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด ต่ำสุด 70 ลิตร สูงสุด 1000 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide : 39

        DOT Guide :   154

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557