Vanadium oxide

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
        ชื่อเคมี IUPAC  Vanadium pentoxide

        ชื่อเคมีทั่วไป  Vanadium(V) oxide

        ชื่อพ้องอื่นๆ    Vanadium oxide; Vanadium oxides; Vanadium(V) pentoxide; V-O; Vanadium (5) oxide; C.I. 77938; Vanadium oxide (C2O5); Vanadium oxide (5); Vanadium pentoxide ; Vanadic anhydride

        สูตรโมเลกุล    V2O5

        สูตรโครงสร้าง   สไลด์71

        รหัส IMO     12305967_10207256021172292_1807016644_n

        CAS No.      1314-62-1

        รหัส EC NO.   023-001-00-8

        UN/ID No.   2862,3077

        รหัส RTECS    YW 2460000

        รหัส EUEINECS/ELINCS        215-239-8

        ชื่อวงศ์                 –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า  J.T. Baker

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ  –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                1314-62-1         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) :  10 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :     226/6 ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :          4.55(ppm)       

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :      0.0067(ppm)  

        PEL-STEL(ppm) :    –

        PEL-C(ppm) :      0.013(ppm)  

        TLV-TWA(ppm) :    0.0065(ppm)  

        TLV-STEL(ppm) :    –

        TLV-C(ppm) :    –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :     –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :      เฉลี่ย 8 ชั่วโมง : สารเคมีอันตราย

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :       –

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :       –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ :  ผลึกของแข็ง

        สี : น้ำตาล-เหลือง

        กลิ่น :  ไม่มีกลิ่น

        นน.โมเลกุล :  181.88

        จุดเดือด(0ซ.) :  1750

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) :  690

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :    3.36

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) : 6.3

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  –

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  0.1-1%

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  4ที่ 200ซ.

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  7.44

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =   0.13ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :   สารนี้สามารถสลายตัวที่อุณหภูมิ 1750 องศาเซลเซียส

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ :  การหายใจเข้าไป ละออง ฝุ่น ควันมีความเป็นพิษสูง สัมผัสถูกจะทำให้เกิดอันตรายต่อปอด และหลอดลม ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และอักเสบต่อเยื่อบุ หลอดอาหาร ทำให้ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีเขียว-ดำ ไอ หายใจถี่รัว หลอดลมตีบ แน่นหน้าอก โรคหืด เป็นผลให้เกิดปอดอักเสบ ปอดบวม อาจถึงตายได้

        สัมผัสทางผิวหนัง : การสัมผัสถูกผิวหนัง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง มีอาการผื่นแดง ทำให้คัน และปวดแสบปวดร้อน แผลพุพอง

        กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนหรือกินเข้าไป สารนี้มีความเป็นพิษสูง อาจทำให้เสียชีวิตได้ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะอาจเกิดโรคโลหิตจางได้

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา ไอ ละออง และฝุ่นของสารนี้จะทำให้เกิดการระคายเคือง และแผลไหม้ ตาแดง เจ็บตา และอาการเยื่อบุตาอักเสบ

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ : สารนี้จะมีผลต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ เนื้องอก การสัมผัสเป็นเวลานาน ๆ จะทำลายปอด ทางเดินหายใจ และผิวหนัง

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว :  สารนี้เสถียรภายใต้สภาวะปกติของการใช้ การเก็บ

        สารที่เข้ากันไม่ได้ :  ลิเธียม กรดเปอร์ออกซีฟอร์มิค และคลอรีนไตรฟลูออไรด์ ส่วนผสมของวาเนเดียมเพนออกไซด์กับแคลเซียม ซัลเฟอร์ น้ำ จะเกิดการลุกติดไฟได้เอง

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง :  สารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว :   ออกไซด์ของวาเนเดียม

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ :  จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :          –

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  –

        ค่า LEL % :     –

        UEL % :        –    

        NFPA Code :   300

         สารดับเพลิง : ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย ผงเคมีแห้ง แอลกอฮอล์โฟม หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

                – สารนี้สามารถเผาไหม้แต่จะลุกติดไฟได้ยาก

                – ในเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :  

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดแน่นมิดชิด

                – เก็บในที่ที่เย็น แห้ง มีการระบายอากาศในพื้นที่อย่างดี ป้องกันการเสียหายทางกายภาพ

        สถานที่เก็บ

                – แยกออกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ภาชนะบรรจุนี้อาจเป็นอันตรายเมื่อเป็นถังเปล่ามีสารเคมีตกค้าง เช่น ฝุ่น ของแข็ง

                – ให้สังเกตคำเตือนทั้งหมดและข้อระมัดระวังที่ระบุไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง 

                ชื่อในการขนส่ง : วาเนเดียมเพนท๊อกไซด์ (Vanadium Pentoxide)

                ประเภทอันตราย :  6.1

                หมายเลข UN : 2862

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : 500 กรัม

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
        – วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล ให้ระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ควบคุมบุคคลที่ไม่มีหน้าที่จำเป็นและไม่มีการป้องกันอันตรายออกห่างจากบริเวณที่หกรั่วไหล

        – สวมใส่อุปกรณ์การป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – เก็บและใส่ในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมสำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำไปกำจัดโดยใช้วิธีซึ่งไม่ทำให้เกิดฝุ่น

        – ต้องรายงานการหกรั่วไหล การปนเปื้อนดิน น้ำ อากาศ มากเกินกว่าที่ต้องรายงาน

        การพิจารณาการกำจัด : สารนี้ไม่สามารถนำเอากลับคืนมาใช้ใหม่จะต้องจัดการเช่นเดียวกับกากของเสีย และส่งให้ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตในการกำจัด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n12309022_10207269202381814_1401123889_n12282808_10207269089578994_74654600_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : 

                ข้อแนะนำในการเลือกประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

                        – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 0.5 mg/m3: ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมอุปกรณ์กรองอนุภาพประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

                – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 1.25 mg/m3: ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมอุปกรณ์กรองอนุภาพประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25

                – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 2.5 mg/m3: ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมอุปกรณ์กรองอนุภาพประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อม tight – fitting facepiece พร้อมอุปกรณ์กรองอนุภาพประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

                – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 35 mg/m3: ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 2000

                – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

                – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister อุปกรณ์กรองอนุภาพประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าหยุดหายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ทันที กระตุ้นทำให้อาเจียนทันที ห้ามให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่ที่หมดสติ นำส่งไปพบแพทย์โดยทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างทันทีด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที นำส่งไปพบแพทย์

         อื่นๆ : –

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                  – ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ , น้ำเสีย หรือดิน

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :   7300,7504

        OSHA NO. :  –

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :   กระดาษกรอง                

        วิธีการวิเคราะห์ :       –

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                  – วิธีวิเคราะห์ให้ใช้ INDUCTINELY COUPLED ARGON PLASMA, ATOMIC EMISSION SPECTROSCOPY

                – การเก็บตัวอย่างใช้ : -0.8 um cellulose ester membrane

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง : 1 ถึง 4 ลิตรต่อนาที

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :        36,49

        DOT Guide :            151,171

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557