1-Butylamine

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   1-Butanamine

        ชื่อเคมีทั่วไป     N-butylamine

        ชื่อพ้องอื่นๆ      1-Aminobutane; Aminobutane; Butyl amine; Norralamine; Mono-n-butylamine; Tutane; Monobutylamine

        สูตรโมเลกุล      C4H11N

        สูตรโครงสร้าง    12305386_10207280619627238_280380336_n

        รหัส IMO  12286089_10207247452278075_1668521281_n12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.        109-73-9

        รหัส EC NO.    612-005-00-0

        UN/ID No.      1125            

        รหัส RTECS     EO 2975000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         203-699-2

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า J.T.Baker

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 109-73-9         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ไม่ระบุไว้
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 366 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :          800/ 4 ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    300(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :        5(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :       –

        PEL-C(ppm) :       5(ppm)

        TLV-TWA(ppm) :       5(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :       –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535:     –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541   :   เฉลี่ย 8 ชั่วโมง

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :           –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ใส ไม่มีสี

        กลิ่น : คล้ายแอมโมเนีย

        นน.โมเลกุล :   73.4

        จุดเดือด(0ซ.) :  78

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -49

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.74

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    2.5

        ความหนืด(mPa.sec) :  0.5

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  82 ที่ 200ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  ละลายน้ำ

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  12.6 ที่ 250ซ.

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  3.00

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.33 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเอาไอระเหยของสารนี้เข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูกและลำคอ ทำให้ปวดศีรษะ และน้ำท่วมปอดได้ ถ้าได้รับไอระเหยที่ระดับความเข้มข้นสูงจะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด ไอ เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ เกิดอาการชักกระตุกอย่างรุนแรง ง่วงซึม และอาจหมดสติได้ แต่ตามสมบัติของสารนี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองเมื่อมีสถานะเป็นไอระเหย

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังไหม้ สารนี้สามารถถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดอาการคล้ายกับการหายใจเข้าไปได้

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไป จะมีอาการคล้ายกับการหายใจเข้าไป และทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณปาก คอ รวมทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งถ้าได้รับปริมาณมากอาจเสียชีวิตได้

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา ไอของสารจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ทำให้เกิดการทำลายตา และทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ การสัมผัสเรื้อรัง การสัมผัสถูกผิวหนังนานๆหรือบ่อยๆจะทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความคงตัวภายใต้สภาวะปกติของการใช้และการเก็บ

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดซ์ สารเปอร์คลอริวฟลูออไรด์ และกรดเข้มข้น

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน เปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟ และสารที่เข้ากันไม่ได้

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : การลุกไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :           -12

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  312

        ค่า LEL % :     1.7     

        UEL % :        9.8     

        NFPA Code :    12286090_10207280455623138_1983312831_n

         สารดับเพลิง : ให้ใช้ผงเคมีแห้ง แอลกอฮอล์โฟมหรือคาร์บอนไดออกไซด์

        การระเบิด : ส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศจะระเบิดได้ภายใต้ขีดจำกัดความไวไฟที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดวาบไฟ ไวต่อประจุไฟฟ้าสถิต

                – ไอระเหยสามารถแพร่กระจายไปสู่แหล่งจุดติดไฟและเกิดไฟย้อนกลับมาได้

                – ภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเมื่อสัมผัสถูกความร้อนอาจทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้

                – การสัมผัสกับสารออกซิไดซ์มากๆ อาจจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

                – อย่าใช้การฉีดน้ำเป็นลำตรง ลำน้ำจะทำให้สารเคมีและเปลวไฟแพร่กระจาย

                – ให้ใช้การฉีดน้ำเป็นฝอยสามารถใช้ควบคุมหรือหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่ถูกเพลิงไหม้

                – กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในที่ที่เย็นและแห้ง มีการระบายอากาศเป็นอย่างดี

                – การเคลื่อนย้ายและการเก็บรักษา มีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

                – แยกเก็บจากสารที่เข้ากันไม่ได้

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บภายนอกอาคารหรือแยกเก็บให้ถูกต้อง

                – ให้ออกห่างจากพื้นที่ใดๆที่อาจเกิดอันตรายจากอัคคีภัยอย่างเฉียบพลัน

                – มีการระบายอากาศเพื่อป้องกันการเกิดระเบิด

                – ไม่ควรสูบบุหรี่บริเวณที่เก็บสารเคมีนี้

                – ให้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ

                – ภาชนะบรรจุจะต้องต่อเชื่อมหรือต่อลงดินเพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟจากไฟฟ้าสถิตย์

                – ภาชนะบรรจุของสารนี้ที่เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ไอระเหย และของเหลว อาจทำให้เกิดอันตรายได้

                – ให้สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ระบุไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง :

                ชื่อในการขนส่ง : BUTYLAMINE

                ประเภทอันตราย : 3.2 , 8

                หมายเลข UN : UN 1125

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม III

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
        – วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล ให้ระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ให้เคลื่อนย้ายแหล่งจุดติดไฟทั้งหมดออกไป

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – ให้ทำการกันแยกบริเวณพื้นที่ที่อันตราย และกันบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องห้ามเข้าในบริเวณนี้

        – ให้เก็บรวมรวมของเหลวที่รั่วไหล และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถ้าเป็นไปได้

        – ให้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ

        – ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยวัสดุเฉื่อย เช่น แร่หินทราย(vermiculite) ทรายแห้ง ดิน และเก็บใส่ในภาชนะบรรจุกากของเสีย

        – อย่าใช้วัสดุติดไฟได้ เช่น ขี้เลื่อย ในการดูดซับสาร

        – อย่าเททิ้งลงท่อระบายน้ำ

        – ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดไอระเหย

        – แนะนำให้ใช้ตัวทำละลายของสารนี้เป็นตัวดูดซับเมื่อมีการหกรั่วไหล

        การกำจัด : สารที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้จะไม่ปลอดภัย จะต้องกำจัดเช่นเดียวกับกากของเสียอันตรายและส่งให้ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตในการกำจัดของเสีย กระบวนการใช้หรือปนเปื้อนของสารนี้จะต้องเป็นไปตามแนวทางการจัดการของเสียตามกฎระเบียบข้อบังคับของทางราชการ การจัดการภาชนะบรรจุและที่มิได้ใช้แล้วจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับที่กฎหมายของส่วนกลางและท้องถิ่น

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12282808_10207269089578994_74654600_n 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12309291_10207269044297862_182124300_n 12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

                สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 50 ppm : ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10

                สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 125 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25

                 – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 250 ppm : ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) พร้อม tight – fitting facepiece โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อม tight – fitting facepiece โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50      

                สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 300 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 2000

                ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

                ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister ที่สามารถป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ ฝุ่น ละอองไอ และฟูม ให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        กินหรือกลืนเข้าไป :       ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปอย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ให้ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ ห้ามไม่ให้นำสิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง :           ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังให้ฉีดล้างทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมกับถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก

                – ให้ทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าให้สะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

                – นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        สัมผัสถูกตา :     ถ้าสัมผัสถูกตา : ให้ค่อยๆฉีดล้างตาด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมกระพริบตาถี่ๆขณะทำการล้าง นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        อื่นๆ : กรณีการสัมผัสสารในปริมาณมากให้ทำการติดตามผลของการเกิดอาการน้ำท่วมปอดในระยะยาว

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
        ข้อมูลทางนิเวศวิทยา : สิ่งแวดล้อมถูกทำลายเสียหาย เมื่อรั่วไหลสู่ดิน

                – สารนี้คาดว่าจะถูกชะล้างลงสู่น้ำใต้ดิน

                – สารนี้จะสลายตัวทางชีววิทยาเหลือความเข้มข้นปานกลางเมื่อรั่วอยู่ในดิน

                – สารนี้ระเหยในความเข้มข้นปานกลาง เมื่อรั่วไหลสู่น้ำ

                – สารนี้คาดว่าจะไม่สะสมในสิ่งมีชีวิต

                – สารนี้มีค่าความเข้มข้นทางชีวภาพ(BCF) โดยประมาณน้อยกว่า 100

                – สารนี้คาดว่ามีการระเหยอย่างรวดเร็ว เมื่อรั่วไหลลงสู่น้ำ

                – สารนี้คาดว่าสามารถสลายตัวได้ง่ายโดยทำปฏิกิริยาเคมีเมื่อถูกแสงทำให้เกิดไฮดรอกซิล เรดิเคิล เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

                – สารนี้คาดว่าจะมีการสลายตัวไปครึ่งหนึ่ง(halrtife) ภายในเวลาน้อยกว่า 1-10 วัน เมื่อรั่วไหลสู่อากาศ

                – สารนี้คาดว่าสามารถเอาออกจากบรรยากาศได้ง่ายโดยเกิดการตกตะกอนแบบเปียก

                – ความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม : ไม่พบข้อมูลที่ต้องการค้นหา

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  2012  

        OSHA NO. :    ไม่ระบุไว้

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :         แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ :

                  – การเก็บตัวอย่างใช้ : หลอดชนิด Sillica gel tube 150 mg /75 mg

                  – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง : 0.01 ถึง 1 ลิตร

                  – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด : ต่ำสุด 2 ลิตร สูงสุด 100 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          19

        DOT Guide :   –

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557