Chromium Oxide

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
        ชื่อเคมี IUPAC  –

        ชื่อเคมีทั่วไป    Chromium trioxide

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Chromium anhydride; Chromium (VI) Oxide; Chromic Anhydride; Chromic Trioxide; Monochromium Oxide; Chromium (VI) Oxide (1:3); Chromerge; Chromium (VI) trioxide; Chromium oxide; Monochromium trioxide; Chromium trioxide (CrO3); Chromium Oxide (Chromic Anhydride);

        สูตรโมเลกุล      CrO3

        สูตรโครงสร้าง   สไลด์26

        รหัส IMO     12305387_10207267050808026_116692330_n12283340_10207256009451999_60499863_n

        CAS No.        1333-82-0

        รหัส EC NO.  –

        UN/ID No.      1463        

        รหัส RTECS    GB 6650000

        รหัส EUEINECS/ELINCS        215-607-8

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า  www.J.T.Baker .com

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ  –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 1333-82-0         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ :  ใช้ในห้องปฏิบัติการ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 80 (มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :

        IDLH(ppm) :  3.75 (ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :      0.024 (ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :      0.024 (ppm)

        TLV-TWA(ppm) :      0.012(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :      –

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :     –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :            –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :      เฉลี่ย 8 ชั่วโมง

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           ชนิดที่ 3

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :           กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของแข็ง

        สี : แดงเข้ม

        กลิ่น : ไม่มีกลิ่น

        นน.โมเลกุล :  99.99

        จุดเดือด(0ซ.) :  250

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 197

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        2.7

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    3.4

        ความหนืด(mPa.sec) :   –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  ต่ำมาก

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  63

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  <-1 ที่ 20 0ซ.

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  4.09

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.25 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ : อุณหภูมิสลายตัว > 230 องศาเซลเซียส

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ : การหายใจเข้าไปเนื่องจากสารนี้กัดกร่อนจะทำเกิดการทำลายเนื้อเยื่อของเยื่อเมือก และทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดเป็นแผลพุพอง และเกิดรูพรุน ต่อผนังกั้นโพรงจมูก และทำให้เกิดอาการอักเสบต่อลำคอ เกิดอาการไอ หายใจถี่รัว และหายใจลำบาก อาจทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวกับปอด หรืออาการภูมิแพ้จากโรคหืด การสัมผัสกับสารในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการน้ำท่วมปอดได้

        สัมผัสทางผิวหนัง : การสัมผัสถูกผิวหนัง เนื่องจากสารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนจะเกิดอาการผื่นแดง เจ็บปวด และแผลไหม้อย่างรุนแรง ฝุ่นและสารละลายเข้มข้นจะเป็นเหตุให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง เมื่อสัมผัสกับผิวหนังที่แตกหรือเป็นแผลจะทำให้เกิดแผลพุพอง (Chrome sores) และการดูดซึมถ้าเข้าสู่ร่างกายเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเป็นพิษ มีผลกระทบต่อการทำงานของไต และตับ จะเป็นเหตุให้ผิวหนังไวต่อสิ่งกระตุ้น

        กินหรือกลืนเข้าไป : การกลืนหรือกินเข้าไปจะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ บริเวณปาก, คอ, และกระเพาะอาหาร อาจทำให้เสียชีวิตได้ ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ, อาเจียน, ท้องร่วง, การอักเสบของลำไส้, เส้นเลือดหดตัว, วิงเวียนศรีษะ, กระหายน้ำ, เกิดตะคริว, หมดสติ, มีอาการโคม่า, การไหลเวียนเลือดผิดปกติ, ไข้, เกิดการทำลายตับ และไตวายเฉียบพลัน

        สัมผัสถูกตา : การสัมผัสถูกตาเนื่องจากสารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้ตาพล่ามัวมองไม่ชัด ตาแดง ปวดตา และเกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดบาดเจ็บต่อกระจกตาหรือตาบอดได้

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ : สัมผัสเรื้อรังการสัมผัสซ้ำ ๆ กันหรือเป็นเวลายาวนานจะทำให้เป็นแผลพุพอง และเกิดรูของผนังแบ่งกั้นโพรงจมูก ทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ตับและไตถูกทำลาย เป็นแผลพุพองของผิวหนัง การเป็นแผลพุพองเริ่มแรกจะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่จะทะลุเข้าไปถึงกระดูกทำให้เกิดรูพรุน (Chrome holes) สารนี้เป็นสารมะเร็งต่อมนุษย์

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียรเมื่ออยู่สภาวะ การใช้งานและการเก็บปกติ

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารที่สามารถติดไฟได้ สารอินทรีย์ หรือสารที่สามารถเกิดออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น กระดาษ ไม้ ซัลเฟอร์ อลูมิเนียม หรือพลาสติก, สารหนู แก๊ซแอมโมเนีย ไฮโรเจนซัลไฟล์ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และเซเลเนียม ทำให้เกิดความร้อน และเกิดการกัดกร่อนแก่โลหะ

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ควรหลีกเลี่ยงจากความร้อนที่สูงเกินและการเกิดการเผาไหม้หรือสารอินทรีย์

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : การเผาไหม้ อาจก่อให้เกิดโครเมียมออกไซด์

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ :  ไม่มีอันตราย

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :           –

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  –

        ค่า LEL % :    

        UEL % :                

        NFPA Code :   301

         สารดับเพลิง : สารดับเพลิงให้ใช้น้ำ อย่างไรก็ตามสารจากการสลายตัวจะทำให้เกิดฟองที่เหนียวและต้องระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการระเบิดของลำน้ำ

                – การเกิดระเบิดเมื่อสัมผัสกับสารออกซิไดซ์จะก่อให้เกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรง

                – ภาชนะบรรจุสามารถเกิดการระเบิดขึ้นได้เมื่อเกิดการเผาไหม้

                – สารนี้ไม่ติดไฟ แต่เป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรงและสามารถเกิดปฏิบัติความร้อนกับสารรีดิวซ์ หรือสารที่สามารถลุกติดไฟได้ทำให้เกิดการจุดติดไฟขึ้น

                – จะจุดติดไฟเมื่อสัมผัสกับกรดอะเซติก และแอลกอฮอล์

         การเผาไหม้ : ทำให้เกิดก๊าซออกซิเจนขึ้นจากการสลายตัว

                – ข้อมูลพิเศษในเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ ควรสวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังออกซิเจน (SCBA) ในตัวพร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง และระบายอากาศได้ดี

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บให้ห่างจากแหล่งที่มีความร้อน แหล่งที่มีประกายไฟ ความชื้น และสารที่เข้ากันไม่ได้

                – ไม่ควรเก็บไว้บนพื้นที่ทำให้ด้วยไม้

                – ควรสวมใส่อุปกรณ์ที่ป้องกันอันตรายสำหรับงานบำรุงรักษาซึ่งจะต้องสัมผัสกับสารนี้ในปริมาณมากเกิน

                – ล้างมือ หน้า แขน และคอเมื่อออกจากสถานที่ควบคุมปฏิบัติงาน อาบน้ำ ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า ชั้นนอกและทำความสะอาดเสื้อผ้าหลังเลิกงานทุกวัน

                – หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีการปนเปื้อนสารเคมี และล้างมือก่อนที่จะมีการรับประทานอาหาร

                – ไม่ควรรับประทานอาหาร ดื่ม หรือสูบบุหรี่ในที่ที่มีการปฏิบัติงาน

                – ภาชนะที่บรรจุสารเคมี ที่เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ฝุ่น ของแข็ง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ และให้ดูป้ายเตือน และอ่านข้อความระมัดระวังก่อนการใช้งาน

        ข้อมูลการขนส่ง 

                ชื่อในการขนส่ง : RQ CHROMIUM TRIOXIDE, ANHYDROUS

                ประเภทอันตราย : 5.1

                หมายเลข UN : UN 1463

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
        – วิธีการปฏิบัติกรณีเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล : ให้ระบายอากาศพื้นที่ที่หกรั่วไหล

        – ให้สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – เก็บกวาดและบรรจุใส่ภาชนะสำหรับเก็บคืนหรือนำไปกำจัด

        – การดูดหรือการกวาดขณะชื้นสามารถใช้ได้เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของฝุ่น

          การพิจารณาการกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12309291_10207269044297862_182124300_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) :     ควรเลือกใช้ถุงมือประเภท Polyvinyl chloride Vinyl แต่ควรหลีกเลี่ยงถุงมือประเภท Unsupported Neopnene Supperted Polyvinyl alcohol Natural Rubber และ Neoprene Natural Rubber

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดการหายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าผู้ป่วยหายใจลำบาก ให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากินหรือการกลืนเข้าไป อย่าทำให้ผู้ป่วยเกิดการอาเจียน ควรให้ดื่มน้ำปริมาณมาก ถ้าผู้ป่วยหมดสติห้ามไม่ให้นำสิ่งใดเข้าปากและให้อยู่ในความดูแลของแพทย์โดยทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก และทำความสะอาดเสื้อผ้า รองเท้าก่อนนำมาใช้อีกครั้ง นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตาให้ล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมกระพริบตาถี่ ๆ ขณะทำการล้าง นำส่งไปพบแพทย์

         อื่นๆ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :  สิ่งแวดล้อมถูกทำลายเสียหาย เมื่อสารเคมีรั่วไหลสู่ดิน

                  – สารนี้จะถูกชะล้างลงสู่น้ำใต้ดิน เมื่อสารเคมีรั่วไหลสู่น้ำ

                  – สารนี้ไม่สามารถคาดได้ว่าจะระเหยได้ เมื่อสารเคมีรั่วไหลสู่อากาศ

                  – สารเคมีจะเคลื่อนย้ายไปสู่ชั้นบรรยากาศ

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  7600, 7604

        OSHA NO. :    103, 215

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      กระดาษกรอง

        วิธีการวิเคราะห์ :         สเปคโตโฟโตมิเตอร์

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – การเก็บตัวอย่างใช้ : 5.0 um PVC membrane

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง : 1-4 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด : ต่ำสุด 8 ลิตร สูงสุด 400 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          30

        DOT Guide :              141

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557