Acetonitrile

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
          ชื่อเคมี IUPAC   Ethanenitrile

         ชื่อเคมีทั่วไป     Acetonitrile ; Methylcyanide

         ชื่อพ้องอื่นๆ      Cyanomethane; Ethyl nitrile ; Ethane nitrile; Methanecarbonitrile; AN; Ethanonitrile; Acetonitrile ;

         สูตรโมเลกุล      C2H3N

         สูตรโครงสร้าง   12305580_10207255916329671_672036303_n

         รหัส IMO     12286089_10207247452278075_1668521281_n

         CAS No.        75-05-8

         รหัส EC NO.    608-001-00-3

         UN/ID No.      1648              

         รหัส RTECS    AL 7700000

         รหัส EUEINECS/ELINCS         200-835-2

         ชื่อวงศ์  –

         ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า J.T. Baker INC

         แหล่งข้อมูลอื่นๆ 222 Red School Lane Phillipburg New Jersey U.S.A. 08865

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
         ส่วนประกอบ:

         ชื่อ          CAS #          น้ำหนักร้อยละ
         –          75-05-8          –
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
         การใช้ประโยชน์ : สารนี้ใช้เป็นสารวิเคราะห์และทดสอบ (reagent) ทางเคมีในห้องปฏิบัติการ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
          LD50(มก./กก.) : 3800 (มก./กก.)

         LC50(มก./ม3) :      4524.24/ 8 (มก./ม3)

         IDLH(ppm) :    500 (ppm)

         ADI(ppm) :      –

         MAC(ppm) :    –

         PEL-TWA(ppm) :       40 (ppm)

         PEL-STEL(ppm) :      –

         PEL-C(ppm) :       –

         TLV-TWA(ppm) :      40 (ppm)

         TLV-STEL(ppm) :      60 (ppm)

         TLV-C(ppm) :      –

         พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :     –

         พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

         พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

         พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

         พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

         หน่วยงานที่รับผิดชอบ :           –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
          สถานะ : ของเหลว

         สี : ใส ไม่มีสี

         กลิ่น : กลิ่นคล้ายอีเธอร์

         นน.โมเลกุล :   41.05

         จุดเดือด(0ซ.) :  82

         จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : – 46

         ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.79

         ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    1.41

         ความหนืด(mPa.sec) :   0.39

         ความดันไอ(มม.ปรอท) :  72.8 ที่ 200ซ.

         ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  100 % ที่  -0ซ.

         ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

         แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  1.68

         มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =          0.595ppm ที่ 250ซ.

         ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
         สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลีย อาการชักกระตุกอย่างรุนแรง ลำตัวเขียวคล้ำเนื่องจากขาดออกซิเจนหมดสติ ปอดบวมและอาจทำให้ตายได้

         สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคือง สารนี้สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังอาจทำให้เกิดอันตรายได้

         กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนกินเข้าไป จะทำให้ลำตัวเขียวคล้ำเนื่องจากขาดออกซิเจน หมดสติ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง หายใจติดขัด ความดันโลหิตต่ำ ระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้ ชักกระตุก อาจเสียชีวิตได้

         สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ตาพร่ามัว

         การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ :  สารนี้ไม่เป็นสารก่อมะเร็งตามรายชื่อของ IARA NTP และ OSHA ผลเรื้อรัง ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย ตาพร่ามัว ตับถูกทำลาย ไตถูกทำลาย โรคโลหิตจาง

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
          ความคงตัว : ปกติสารนี้มีความเสถียร

         สารที่เข้ากันไม่ได้ : กรดแก่ สารออกซิไดซ์อย่างแรง เบสแก่ , สารรีดิวซ์ , โลหะอัลคาไลน์

         สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : เปลวไฟ ความร้อน และแหล่งจุดติดไฟอื่นๆแสงแดด

         สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนมอนออกไซด์คาร์บอนไดออกไซด์

         อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : อาจจะเกิดขึ้น

         การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
          จุดวาบไฟ(0ซ.) :           5

         จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :  523

         ค่า LEL % :     4.4

         UEL % :        16.0   

         NFPA Code :   12286140_10207269104979379_187704399_n

          สารดับเพลิง : ให้ใช้โฟมแอลกอฮอล์ ผงเคมีแห้ง หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำจะใช้ไม่ได้ผล

        – สารนี้เป็นของเหลวไวไฟ

        – ให้ฉีดน้ำหลอเย็นเพื่อควบคุมภาชนะบรรจุที่เกิดเพลิงไหม้

        – ขั้นตอนการดับเพลิงขั้นรุนแรง โดยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า

        – ให้เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ถ้าทำได้โดยปราศจากอันตราย

        – ไอระเหยจะไหลแพร่กระจายตามพื้นไปแหล่งที่จุดติดไฟและเกิดไฟย้อนกลับมาได้

        – ภาชนะปิดสนิทเมื่อสัมผัสกับความร้อนอาจทำให้เกิดการระเบิดได้

        – สัมผัสกับสารออกซิไดซ์อย่างแรงจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้เกิดก๊าซพิษของไฮโดรเจนไซยาไนด์ออกไซด์ของไนโตรเจน,คาร์บอนมอนออกไซด์,คาร์บอนไดออกไซด์

        – ป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตย์

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในที่ที่แห้ง เย็น และมีการระบายอากาศที่ดี

                – เก็บในบริเวณที่เก็บวัตถุไวไฟ

                – เก็บให้ห่างจากการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง,ห่างจากสารที่เข้ากันไม่ได้

        สถานที่เก็บ :

                – ต่อสารดินและเชื่อมระหว่างพังบรรจุในขณะที่มีการถ่ายเทสาร

         ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : Acetonitrite

                ประเภทอันตราย : 3.2

                หมายเลข UN : UN 1648

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – หยุดการรั่วไหลของสารถ้าทำได้โดยปราศจากการเสี่ยงอันตราย

        – ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดไอระเหย

        – วิธีแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุกรณีรั่วไหล สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) และชุดป้องกันแบบคลุมตัว

        – ปิดคลุมด้วยทรายหรือวัสดุดูดซับที่ไม่ติดไฟและเก็บใส่ในภาชนะบรรจุสำหรับนำไปกำจัด

        – ฉีดล้างบริเวณที่หกรั่วไหลด้วยน้ำ

        – อย่าให้สารที่หกรั่วไหลนี้ไหลท่อระบายน้ำหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

         การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12309291_10207269044297862_182124300_n 12286194_10207269044497867_168388570_n

         ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : การเลือกประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

          – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 200 ppm : ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator)โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10

         – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 500 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10 หรือ ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า(gas mask) ซึ่งมี canister ประเภทที่ป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

          –  ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

          – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า อุปกรณ์กรองอนุภาพประสิทธิภาพสูง (HEPA filter) หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
          หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไปให้บดเอมิลไนไตร์เพริลในห่อผ้าแล้วนำไปให้ดมใต้จมูกนานประมาณ 5 นาทีทำซ้ำๆ 5 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที ถ้าไม่หายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย

         กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากินหรือกลืนเข้าไป ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ กระตุ้นทำให้เกิดการอาเจียน นำส่งไปพบแพทย์

         สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำ ด้วยปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้ารองเท้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีออก ล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

         สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาด้วยน้ำปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที แจ้งต่อแพทย์ ถ้าผู้ป่วยยังมีสติให้ออกซิเจนถ้าจำเป็น ได้รับสารเข้าไปอย่างรุนแรง เฝ้าดูผู้ป่วยไว้ 24-48 ช.ม. ถ้าพิษของไซยาไนด์ยังไม่ทุเลา หรือเกิดขึ้นอีก ให้ฉีดไนไตรด์และไฮโอซัลเฟตทุก 1 ช.ม. ถ้าจำเป็น

         อื่นๆ : การดูแลทางการแพทย์ ควรมีการไปตรวจสุขภาพ เป็นระยะๆ ที่อวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ไต ระบบหายใจ เช็คการเต้นของหัวใจและระบบประสาท

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
          ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                 – สารนี้สามารถย่อยสลายได้ง่ายในน้ำ

                – มีแนวโน้มในการสะสมทางชีวภาพต่ำ

                – เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ

                – เป็นพิษต่อปลาและแพลงค์ตอน อาจผสมกับอากาศเหนือผิวน้ำ ให้ของที่ผสมเป็นน้ำระเบิดได้

                – ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
          NMAM NO. :  1606

         OSHA NO. :   

         วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

         วิธีการวิเคราะห์ :         แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

         ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – การเก็บตัวอย่างใช้ coconut shell charcoal tube 400/200 mg

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 0.1 ถึง 0.2 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด 1 ลิตร , สูงสุด 25 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
         AVERS Guide :          17

         DOT Guide :   131

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557