Benzene

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   Cyclohexatriene

        ชื่อเคมีทั่วไป     Phenyl hydride

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Coal naphtha; Benzol; Benzine; Benzolene; Phene; (6)annulene; Bicarburet of hydrogen; Carbon oil; Mineral naphtha; Motor benzol; Nitration benzene; Pyrobenzol; Benzene ;

        สูตรโมเลกุล      C6H6

        สูตรโครงสร้าง   12286095_10207256029292495_371043123_n

        รหัส IMO   12286089_10207247452278075_1668521281_n

        CAS No.        71-43-2                  

        รหัส EC NO.    –

        UN/ID No.      1114             

        รหัส RTECS     CY 1400000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         200-753-7

        ชื่อวงศ์  Aromatic hydrocarbon / benzene

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ CHEMINOFO

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 71-43-2         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้ในขบวนการผลิตเอทิลเบนซิล คูมีน ไซโคลเฮกเซน ไนโตรเบนซีน ดีเทอเจนอัลคีเลท คลอโรเบนซีน และมาลีอิกแอนไฮไดร เบนซีนจะถูกใช้เป็นสารตัวทำละลาย และสารทำปฏิกิริยาในห้องปฏิบัติการ
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 930 (มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :        13,700/ 4 (มก./ม3)

        IDLH(ppm) :    500 (ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :       1 (ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      5 (ppm)

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       0.5 (ppm)

        TLV-STEL(ppm) :      2.5 (ppm)

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :     –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           ชนิดที่ 3

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :           กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ใส ไม่มีสี

        กลิ่น : เฉพาะตัว อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน

        นน.โมเลกุล :   78.11

        จุดเดือด(0ซ.) :  80

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 5.5

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.877

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    2.7

        ความหนืด(mPa.sec) :     0.647

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  75 ที่ 200ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  0.18 ที่ 250ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  3.19

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =          0.31 ppm ที่ 25 0ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :

                – สารนี้สามารถละลายได้ในเอทานอล คลอโรฟอร์ม ไดเอทิลอีเธอร์ คาร์บอนไดซัลไฟด์ อะซิโตน น้ำมัน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ และกรดอะซีติก

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเอาสารนี้เข้าไป ผลกระทบของการสัมผัสสารนี้จะไปกดระบบประสาทส่วนกลางก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ง่วงซึม ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เกิดภาวะการทำงานไม่ประสานกัน มึนงง และทำให้หมดสติได้ การสัมผัสสารนี้ที่ความเข้มข้น 25 ppm คาดว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย การสัมผัสสารนี้ที่ความเข้มข้น 50-150 ppm จะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูก และลำคอ อาจจะมีอาการเวียนศีรษะ เป็นอาการนำก่อนจะเกิดอาการอื่น ๆ ตามมา การสัมผัสสารนี้ที่ความเข้มข้นประมาณ 20,000 ppm จะทำให้เสียชีวิตได้ สารนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเลือดและระบบภูมิคุ้มกันจากการทดลองในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่ยืนยันว่าสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ในการสัมผัสสารในระยะสั้น มีการรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของสารนี้ในระบบเลือดเมื่อปี 1992 พบว่า ในคนงานที่ทำงานสัมผัสกับเบนซีนที่ระดับความเข้มข้นสูง (สูงกว่า 60 ppm ) เป็นเวลาติดต่อกันหลาย ๆ วัน โดยที่คนงานก็ยังคงใช้สารเคมีชนิดอื่นเข้าไปด้วยในช่วงเวลาเดียวกัน หลังจากติดตามเป็นเวลา 4 เดือน พบว่าคนงานเหล่านี้มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง 9 คน ในคนงาน 15 คน และมีอย่างน้อย 1 คน ที่พบว่าผิดปกติของระบบเลือด และหลังจากการติดตามเป็นเวลา 1 ปี พบว่ามีคนงาน 6 คน ที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงในระบบเลือดอยู่ (มีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocytes)

        สัมผัสทางผิวหนัง จากการทดลองในสัตว์พบว่าการสัมผัสสารนี้จะก่อให้เกิดการระคายเคืองเล็กน้อย จากการศึกษาในมนุษย์พบว่าสารนี้สามารถดูดซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ทำให้ผิวหนังแห้ง

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไป สารนี้จะเกิดการดูดซึมอย่างรวดเร็วและไปมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางก่อให้เกิดอาการคล้ายหายใจเข้าไป พบว่าสารนี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันได้ในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันผลกระทบดังกล่าวในมนุษย์

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา ไอระเหยของสารก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ ผลกระทบต่อการสัมผัสในระยะยาว หรือการสัมผัสถูกผิวหนังเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดผื่นแดง ผิวหนังแห้ง อักเสบ และทำให้เกิดการสูญเสีย/ทำลายชั้นไขมันของผิวหนัง สารนี้จะก่อให้เกิดการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด แต่ในระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางและเกิดความผิดปกติต่อเม็ดเลือดขาว (leukemia) เนื่องจากเบนซีนจะไปทำลายไขกระดูกซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตเม็ดเลือดจึงทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และเกิดความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว (leukemia) ขึ้น รวมทั้งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันนอกจากนั้นพบว่า เบนซีนสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อปลายประสาทและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เมื่อยล้า นอนไม่หลับ และความจำเลอะเลือน

        – สารนี้จัดเป็นสารก่อมะเร็งตามบัญชีรายชื่อ IARC NTP ACGIH

        – เบนซีนจะก่อให้เกิดมะเร็งต่อระบบน้ำเหลือง ปอด กระเพาะปัสสาวะ

        – สารนี้สามารถแพร่ผ่านรกได้ แต่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวอ่อนในครรภ์

        – การสัมผัสกับเบนซีนที่ความเข้มข้นสูง อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และมีผลกระทบต่อประจำเดือนในเพศหญิงได้

        – สารนี้สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง/ก่อให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมในเม็ดเลือดขาว และก่อให้เกิดการทำลาย DNA ในเซลล์เม็ดเลือดได้

        – จากผลการทดลองในสัตว์พบว่าการรับสัมผัสจะก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของเอทานอลในระบบเลือดได้

        – เบนซีนสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วโดยทางการหายใจ และการกลืนกินและกระจายสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเนื้อเยื่อไขมัน และเบนซีนจะเกิดเมตาโบลิซึมขั้นแรกที่ตับ และผ่านเข้าสู่ไขกระดูก และทำให้มีความเป็นพิษขึ้น ในมนุษย์ค่าครึ่งชีวิตของเบนซีนคือ 1-2 วัน และสารนี้ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดการสะสมโดยสารนี้จะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับลมหายใจออกผ่านทางปอด และพบขับออกมาพร้อมกับยูรีน

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียร

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : โซเดียมเปอร์ออกไซด์ ไพแทสเซียมเปอร์ออกไซด์ โครมิกแอนไฮไดร เปอร์เมรกานิกแดซิด คลอรีน ไนตริกแดซิด โอโซน ไดโบแรม อินเตอร์ฮาโลเจน ไดออกซิเจน ไดฟลูออไรด์ ไดออกซิเจนนิล เตตระฟลูออโรบอเรต เปอร์แมงกานิกแอซิด เปอรอกซ์โซไดซิลฟูริกแอซิด เมทัลเปอร์คลอเรต ไนตริลเปอร์คลอเรต และแหล่งจุดติดไฟ

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ประจุไฟฟ้าสถิตย์ ประกายไฟ เปลวไฟ ความร้อน และแหล่งจุดติดไฟ

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ อัลดีไฮด์ และคีโตน

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ :

                – สารนี้ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่อโลหะ

                – สารนี้สามารถทำลายโครงสร้างของยางและพลาสติก

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :           -11

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    498

        ค่า LEL % :     1.3

        UEL % :        7.1     

        NFPA Code :   12308909_10207269235702647_884726687_n

         สารดับเพลิง : ไม่ระบุไว้

                – สารนี้เป็นของเหลวไวไฟ

                – ไอระเหยของสารนี้สามารถลุกติดไฟในช่วงของขีดจำกัดการติดไฟ และเกิดการลุกติดไฟได้โดยประจุไฟฟ้าสถิตย์

                – ไอระเหยของสารสามารถลุกติดไฟได้ที่อุณหภูมิห้อง

                – ไอระเหยของสารสามารถแพร่กระจายออกไปถึงแหล่งจุดติดไฟและอาจเกิดการติดไฟย้อนกลับมา

                – ของเหลวของสารสามารถลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ และเกิดการแพร่กระจายออกไป ซึ่งทำให้เกิดการแพร่กระจายของไฟได้

                – ในระหว่างเกิดเพลิงไหม้จะก่อให้เกิดก๊าซที่เป็นพิษ และมีฤทธิ์ระคายเคืองขึ้น

                – สารนี้สามารถเกิดการสะสมในบริเวณสถานที่อับอากาศทำให้เกิดอันตรายจากการติดไฟ และเกิดความเป็นพิษน้ำอาจใช้ในการดับเพลิงไม่ได้ผล เนื่องจากน้ำไม่สามารถลดอุณหภูมิของเบนซีนให้เย็นลงในอุณหภูมิต่ำกว่าจุดวาบไฟได้

                – วิธีการดับเพลิง ให้ทำการเคลื่อนย้ายออกนอกบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ และให้ทำการฉีดดับเพลิงจากระยะที่ปลอดภัย และเป็นบริเวณที่มีการป้องกัน ผู้ทำการดับเพลิงจะต้องอยู่ในด้านเหนือลมและหลีกเลี่ยงไอระเหยหรือสารที่เกิดจากการสลายตัว

                – ให้ทำการหยุดการรั่วไหลก่อนที่จะเกิดการลุกติดไฟ ให้เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกมาจากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ และให้ใช้น้ำฉีดหล่อเย็นเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่สัมผัสเพลิงไหม้ หรือภาชนะบรรจุที่เกิดการแตกออกเล็กน้อย ให้ใช่การฉีดน้ำเป็นฝอยเพื่อลดการแพร่กระจายของไอระเหยและป้องกันบุคคลที่จะเข้าไปหยุดการรั่วไหล

                – กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมชุดป้องกันชนิดปิดคุลมเต็มตัว

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด และป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับแสง

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                – เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บห่างจาก แหล่งจุดติดไฟ ประกายไฟ เปลวไฟ พื้นผิวที่ร้อน ความร้อน สารออกซิไดซ์ สารกัดกร่อน และสารที่เข้ากันไม่ได้

                – เก็บในบริเวณที่ห้ามสูบบุหรี่

                – ระบบระบายอากาศที่ใช้จะต้องเป็นระบบที่ป้องกันการเกิดประกายไฟ และอุปกรณ์เครื่องมือ ไฟฟ้าที่ใช้จะต้องป้องกันการระเบิด

                – บริเวณที่เก็บสารจะต้องไม่มีสารที่สามารถลุกติดไฟได้

                – ในบริเวณทีเก็บจะต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิง และอุปกรณ์สำหรับเก็บกวาดสารที่หกรั่วไหล

        ข้อมูลการขนส่ง : 

                ชื่อในการขนส่ง : Benzene

                ประเภทอันตราย : 3

                หมายเลข UN : UN 1114

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                ขนาดผลิตภัณฑ์ : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – วิธีการปฏิบัติในกรณีเกิดการหกรั่วไหล ให้กั้นแยกพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุหกรั่วไหล

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม

        – จัดให้มีการระบายอากาศในบริเวณที่เกิดการหกรั่วไหล และให้เคลื่อนย้ายแหล่งจุดติดไฟทั้งหมดออกไป

        – ให้หยุดการรั่วไหลหากสามารถทำได้อย่างปลอดภัย

        – ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยทราย ดิน และวัสดุดูดซับที่ไม่เกิดปฏิกิริยากับสารนี้

        –  กรณีการหกรั่วไหลเล็กน้อย ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยวัสดุดูดซับที่ไม่เกิดปฏิกิริยากับสาร และเก็บใส่ในภาชนะบรรจุที่เหมาะสม ทำการติดฉลากภาชนะบรรจุแล้วล้างบริเวณสารหกรั่วไหล หลังจากสารเคมีถูกเก็บกวาดเรียบร้อยแล้ว

        – วัสดุดูดซับสารที่เปรอะเปื้อนจะต้องได้รับการกำจัดเช่นเดียวกับของเสีย

        – กรณีหกรั่วไหลรุนแรง ให้ทำการติดต่อหน่วยฉุกเฉิน และหน่วยบริการดับเพลิง

        – การทำความสะอาดอย่าสัมผัสกับสารที่หกรั่วไหล

        – ป้องกันไม่ให้สารเคมีที่หกรั่วไหล ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ แม่น้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ และบริเวณที่อับอากาศ

        การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12309022_10207269202381814_1401123889_n 12282808_10207269089578994_74654600_n 12286194_10207269044497867_168388570_n12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12309291_10207269044297862_182124300_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

       – ที่ช่วงความเข้มข้นที่เกิดกว่าค่ามาตรฐานที่ NIOSH แนะนำหรือที่ทุกช่วงความเข้มข้นที่สามารถวัดได้ : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

        ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า และอุปกรณ์กรองอนุภาคประสิทธิภาพ (HEPA filter) หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย หากผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นให้ทำการกระตุ้นหัวใจทันที (CPR) นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปห้ามไม่ให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ให้ผู้ป่วยบ้วนล้างปากด้วยน้ำอย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียน ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 240-300 มิลลิลิตร (8-10 ออนซ์) เพื่อเจือจางสารในกระเพาะอาหาร หากผู้ป่วยเกิดการเอาเจียนขึ้นเองให้เอียงศีรษะต่ำ และอย่าหายใจเอาไอของสารที่เกิดจากการอาเจียนเข้าไป และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตามมาก ๆ นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที หรือจนกว่าสารจะหลุดออกหมด พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออกนำส่งไปพบแพทย์ทันที และให้ทิ้งเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนังที่เปรอะเปื้อน

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำอุ่นเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที หรือจนกว่าสารจะหลุดออกหมด ใช้นิ้วถ่างแยกเปลือกตาออก ขณะทำการล้าง และให้ระวังอย่าให้น้ำจากการล้างตาไหลเข้าสู่ตาอีกข้าง นำส่งไปพบแพทย์ทันที

        อื่นๆ : ผู้ทำการปฐมพยาบาลจะต้องได้รับการฝึกอบรมและมีความเชี่ยวชาญ

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

                – สารนี้เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต เป็นพิษต่อปลา และแพลงค์ตอน

                – การเปลี่ยนแปลงลักษณะเฉพาะกลิ่นโปรตีนจากปลา ทำให้แหล่งน้ำดื่มเป็นพิษ

                – สารนี้อาจเกิดการผสมกับอากาศเหนือผิวน้ำ ให้ของผสมที่เป็นพิษ และสามารถระเบิดได้

                – สารนี้อาจเกิดผลเสียระยะยาวต่อระบบนิเวศน์ในน้ำ

                – ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  3700, 1500, 1501

        OSHA NO. :    12

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :         แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – การเก็บตัวอย่างใช้ : coconut shell charcoal 100 mg/ 50mg

                – การวิเคราะห์ใช้ GC โดยมี flame ionization detector

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :          16

        DOT Guide :               130

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557