Methanol

ส่วนที่ 1: ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   Methanol

        ชื่อเคมีทั่วไป     Methyl alcohol

        ชื่อพ้องอื่นๆ      Wood alcohol; Carbinol; Methylol; Wood; Columbian spirits; Colonial spirit; Columbian spirit; Methyl hydroxide; Monohydroxymethane; Pyroxylic spirit; Wood naphtha; Wood spirit; Methyl Alcohol (Methanol);

        สูตรโมเลกุล      CH4O

        สูตรโครงสร้าง      สไลด์139

        รหัส IMO    12286089_10207247452278075_1668521281_n12305967_10207256021172292_1807016644_n

        CAS No.        67-56-1

        รหัส EC NO.    603-001-01-X

        UN/ID No.      1230            

        รหัส RTECS     –

        รหัส EUEINECS/ELINCS         200-659-6

        ชื่อวงศ์                   

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า         ENDURA MANUFACTURING CO.LTD.

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ          –

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 67-56-1         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : สารนี้ใช้เป็นตัวทำละลาย (SOLVENT)
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) :    5600 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :   83840/ 4 ชั่วโมง (หนู)(มก./ม3)

        IDLH(ppm) :     6000(ppm)

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :        200(ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       200(ppm)

        TLV-STEL(ppm) :      250(ppm)

        TLV-C(ppm) :      –

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :           ชนิดที่ 1

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ใสไม่มีสี

        กลิ่น : เฉพาะตัว

        นน.โมเลกุล :   32

        จุดเดือด(0ซ.) : 64.6

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -97.8

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.79

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    1.1

        ความหนืด(mPa.sec) :       –

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :    96 ที่ 200ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  ละลายน้ำได้ ที่ 200ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :     –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =     1.31

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.76 ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่นๆ :

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ :  การหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคือง ตา จมูก ลำคอ และทางเดินหายใจ กดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ง่วงนอน ถ้าสัมผัสปริมาณมากจะทำให้อาการโคม่าและตายได้ เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง ไอระเหย ของเหลวของสารนี้ จะทำให้เกิดการสูญเสียชั้นไขมันของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังแห้ง แตก และเกิดผื่นแดง

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคือง เยื่อเมือกของปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการไอ ท้องร่วง ปวดท้อง ปวดศีรษะ และง่วงซึม

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตาจะก่อให้เกิดการระคายเคือง และทำให้เยื่อเมือกตาอักเสบ เกิดตาแดง และสายตาพร่ามัว

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ ถ้าสัมผัสสารนี้บ่อยๆ และเป็นเวลานาน จะทำให้ผิวหนังอักเสบ และสารนี้สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังมีผลทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกกดทำให้ปวดศีรษะ ง่วงนอน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และการสัมผัสบริมาณมาก อาจทำให้อาการโคม่าและตายได้ มีผลกระทบต่อการมองเห็น โดยปกติอาการจะรุนแรงขึ้นหลังจาการสัมผัส 12-18 ชั่วโมง

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียร

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดซ์อย่างแรง โลหะอัลคาไลท์ กรดซัลฟูริกและกรดไนตริกเข้มข้น แอลดีไฮด์ และแอซัลคลอไรด์

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง: ความร้อน ประกายไฟ และแหล่งจุดติดไฟอื่นๆ

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้หรือสลายตัวเนื่องจากความร้อน : ไม่ระบุไว้

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :          12.2

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    464

        ค่า LEL % :     5.5

        UEL % :        36.5

        NFPA Code :    12277993_10207269065218385_747999914_n

         สารดับเพลิง :  น้ำฉีดเป็นฝอย

                – ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่สัมผัสกับเปลวไฟ และลดการฟุ้งกระจายของไอระเหย

                – อย่าใช้น้ำฉีดเป็นลำเพราะจะทำให้เปลวไฟแพร่กระจาย

                – กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA)

                – ไอระเหยของสารสามารถแพร่กระจายออกไปถึงแหล่งจุดติดไฟและอาจเกิดการติดไฟย้อนกลับมา

                – สารอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้ : คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

        สถานที่เก็บ :

                – เก็บห่างจากสารออกซิไดซ์ และแหล่งจุดติดไฟ

                – ภาชนะบรรจุของสารที่เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น ไอระเหย ของเหลว อาจเป็นอันตรายได้

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : Methanol

                ประเภทอันตราย : 3.2 (6.2)

                หมายเลข UN : UN 1230

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : กลุ่ม II

                รายงานข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ / ขนาด : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
         – ระบายอากาศในบริเวณที่สารหกรั่วไหล

        – ให้เคลื่อนย้ายแหล่งทั้งหมดของการจุดติดไฟออกไป

        – ดูดซับสารที่หกรั่วไหลด้วยปูนขาวแห้ง ทราย หรือโซดาแอ๊ซ

        – เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดเพื่อนำไปกำจัด

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม

        การกำจัด : วิธีการกำจัด ให้กำจัดตามข้อกำหนด กฎระเบียบของทางราชการกำหนดไว้

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
12305827_10207269043297837_1584498643_n12277978_10207269044017855_554821809_n12309291_10207269044297862_182124300_n12309022_10207269202381814_1401123889_n12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 2000 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 500 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25

               – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 6000 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) ซึ่งมีการทำงานของอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้าโดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

               – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือแบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

               – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA)

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ การปฐมพยาบาล ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป :      ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป ถ้าผู้ป่วยมีสติและรู้สึกตัวอยู่ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 1/2-1 แก้ว เพื่อเจือจางสาร ถ้าผู้ป่วยอาเจียนให้ก้มศีรษะให้ต่ำลงเพื่อหลีกเลี่ยงการหายใจเอาอาเจียนเข้าไป ให้ผู้ป่วยบ้วนล้างปากด้วยน้ำ นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง :          ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก ซักทำความสะอาดเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนนำกลับมาใช้ไหม่ นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกตา :      ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที โดยเปิดเปลือกตาให้กว้างขณะทำการล้าง นำส่งไปพบแพทย์

        อื่นๆ :  เอทธานอลจะช่วยเผาผลาญเมทธานอล ควรให้กิน 50% เอทธานอล 1/2-1 ML ต่อน้ำหนักตัว 1 kg ทุกๆ 2-4 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         – สารนี้สามารถเกิดการย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่าย

        – สารนี้คาดว่าจะไม่ก่อให้เกิดการสะสมทางชีวภาพ

        – เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เป็นพิษต่อปลา และแพลงค์ตอน

        – เมื่อรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดสารผสมที่มีพิษ ไม่สามารถเจือจางได้ และอาจเกิดการผสมกับอากาศเหนือผิวน้ำ ให้ไอของสารที่ระเบิดได้ ไม่ส่งผลอันตรายต่อระบบบำบัดน้ำทิ้ง หากมีการใช้และจัดการสารเคมีอย่างเหมาะสม

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. : 2000, 3800

        OSHA NO. :  

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

        วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – การเก็บตัวอย่างใช้ Silica gel

                – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 0.02 ถึง 2 ลิตรต่อนาที

                – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด ต่ำสุด 1 ลิตร สูงสุด 5 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide : 16

        DOT Guide :   –

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557