คลังเก็บป้ายกำกับ: 1

Ethylene glycol

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   1,2-Ethanediol

        ชื่อเคมีทั่วไป     Ethylene glycol

        ชื่อพ้องอื่นๆ      EG; Glycol; 1,2-Dihydroxyethane; Glycol Alcohol; Fridex; Ethane-1,2-diol; Dowtherm 4000; Dowtherm SR 1; Ethylene alcohol; Ethylene dihydrate; Lutrol-9; Macrogol 400 bpc; M.E.G.; Monoethylene glycol; Tescol; Norkool; Ucar 17; DuPont Zonyl FSE Fluorinated Surfactants; DuPont Zonyl FSO Fluorinated Surfactants; Ethylene Glycol

        สูตรโมเลกุล      C2H6O2

        สูตรโครงสร้าง   12309051_10207267041687798_635041560_n

        รหัส IMO       –

        CAS No.        107-21-1              

        รหัส EC NO.       603-027-00-1

        UN/ID No.      –                        

        รหัส RTECS         KW2975000

        รหัส EUEINECS/ELINCS         203-473-3

        ชื่อวงศ์  –

        ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า JT. Baker

        แหล่งข้อมูลอื่นๆ

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
        ส่วนประกอบ:

        ชื่อ         CAS #         น้ำหนักร้อยละ
                 107-21-1         
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
        การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโพลีเอสเทอร์เรซิน
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
         LD50(มก./กก.) : 4700 (หนู)(มก./กก.)

        LC50(มก./ม3) :      –

        IDLH(ppm) :   –

        ADI(ppm) :      –

        MAC(ppm) :    –

        PEL-TWA(ppm) :       50 (ppm)

        PEL-STEL(ppm) :      –

        PEL-C(ppm) :       –

        TLV-TWA(ppm) :       50 (ppm)

        TLV-STEL(ppm) :    –

        TLV-C(ppm) :      50 (ppm)

        พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

        พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 :         –

        พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

        พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 :   –

        พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

        หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

        สี : ใส คล้ายน้ำมัน

        กลิ่น : ไม่มีกลิ่น

        นน.โมเลกุล :   62.07

        จุดเดือด(0ซ.) :  197.6

        จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : -13

        ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        1.1

        ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    2.1

        ความหนืด(mPa.sec) :   21

        ความดันไอ(มม.ปรอท) :  0.06 ที่ 200ซ.

        ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  ละลายได้ ที่  200ซ.

        ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  –

        แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =  2.54

        มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.39ppm ที่ 250ซ.

        ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ : ละลายในเอทานอล เมทานอล

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
        สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไป การหายใจเอาไประเหยของสารเข้าไป โดยทั่วไปจะไม่เกิดอันตรายจนกว่าจะถูกทำให้ร้อน การได้รับไอระเหยเข้าไปเป็นเวลานานทำให้เกิดการระคายเคืองต่อคอ และทำให้ปวดศีรษะได้ อาจเกิดอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ และง่วง เกิดอาการบวมน้ำของปอดและระบบประสาทส่วนกลางทำงานลดลง

        สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังเล็กน้อย แต่อาจเกิดการซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้

        กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนกินเข้าไป อาการเริ่มแรก ถ้าได้รับปริมาณมากทำให้เกิดอาการมึนเมา ต่อไปจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางมีการทำงานลดลง อาเจียน ปวดศีรษะ หายใจถี่ ๆ อัตราการเต้นของหัวใจลดลง ความดันโลหิตต่ำลง หมดสติ และชักกระตุกอย่างแรง การหายใจเข้าเกินไปก่อให้เกิดความตายได้ หรือเป็นสาเหตุของโรคหัวใจตามมา ปริมาณที่พอจะทำให้ตายได้ในมนุษย์ คือ 100 ml (3-4 ออนซ์)

        สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตา อาจทำให้เกิดการระคายเคือง เจ็บปวด เป็นอันตรายต่อตา

        การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ การสัมผัสเรื้อรัง การได้รับสารซ้ำ ๆ ในทุกทางอาจก่อให้ปัญหารุนแรงต่อตับ ไต และก่อให้เกิดอันตรายต่อสมองด้วย ผิวหนังเกิดการแพ้ตามมา ก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ และสารนี้ทำลายประสาท ไต

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
         ความคงตัว : คงตัวภายใต้สภาวะปกติของการใช้ การเก็บ

        สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดซ์อย่างแรง เกิดปฏิกิริยากับกรดซัลฟูลริกเข้มข้น กรดกำมะถัน , โอเลียม , กรดเปอร์คลอริก , การสัมผัสสารโครเมียมไตรออกไซด์ , โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต , โซเดียมเปอร์ออกไซด์ทำให้เกิดการจุดติดไฟ ที่อุณหภูมิห้อง การสัมผัสสารแอมโมเนียมไดโครเมต , ซิลเวอร์คลอเรต , โซเดียมคลอไรด์ และยูรานิลไนเนรตที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดการจุดติดไฟ

        สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ความร้อน เปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟ น้ำ และสารที่เข้ากัน

        สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : เมื่อถูกความร้อนจะเกิดสาร คาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนนอกไซด์ และฟูม/ก๊าซพิษที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

        อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

        การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
         จุดวาบไฟ(0ซ.) :          111

        จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    398

        ค่า LEL % :     3.2

        UEL % :        15.3   

        NFPA Code :   12308975_10207269272103557_1995622002_n

         สารดับเพลิง : ให้ใช้ผงเคมีแห้ง โฟม หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

        – ที่อุณหภูมิมากกว่าจุดวาบไฟ ส่วนผสมไอระเหยกับอากาศจะระเบิดได้ภายในขีดจำกัดความไวไฟ ภาชนะบรรจุจะเกิดการระเบิดขึ้นได้เมื่อเกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้

        – น้ำ หรือโฟมจะก่อให้เกิดเป็นฟอง

        – ฉีดน้ำเป็นฝอยสามารถดับเพลิงบริเวณโดยรอบได้ และหล่อเย็นภาชนะที่ถูกเพลิงเผาไหม้

        – ฉีดน้ำให้เป็นฝอยจะช่วยลดฟูมและก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

        – ในเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ ให้สวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีและเครื่องช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมกับหน้ากากแบบเต็มหน้า ก๊าซพิษหรือไอระเหยของสารเคมีอาจถูกปล่อยออกมาเมื่อเกิดไฟไหม้

        – ก๊าซพิษหรือไอระเหยของสารเคมีอาจถูกปล่อยออกมาเมื่อเกิดเพลิงไหม้

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
         การเก็บรักษา :

                – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                – เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ

        สถานที่เก็บ :

                – ป้องกันการเสียหายทางกายภาพ แยกออกจากกรดด่าง และโลหะออกซิไดซ์

                – ภาชนะบรรจุของสารนี้จะเป็นอันตรายเมื่อเป็นถังเปล่ามีกากสารเคมีหลงเหลืออยู่ เช่น ไอระเหย ของเหลว

                – สังเกตคำเตือนทั้งหมดและข้อควรระมัดระวังที่ระบุไว้สำหรับสารนี้

        ข้อมูลการขนส่ง :

                 ชื่อในการขนส่ง : ไม่ระบุไว้

                ประเภทอันตราย : ไม่ระบุไว้

                หมายเลข UN : ไม่ระบุไว้

                ประเภทการบรรจุหีบห่อ : ไม่ระบุไว้

                ขนาดผลิตภัณฑ์ : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
 

        – วิธีการปฏิบัติการหกรั่วไหล ให้ระบายอากาศเมื่อเกิดอุบัติเหตุรั่วไหล

        – ให้เคลื่อนย้ายของการจุดติดไฟทั้งหมดออกไป

        – ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม

        – กั้นแยกพื้นที่อันตรายออก

        – ควบคุมบุคคลที่ไม่มีชุดป้องกันอันตรายเข้าไป

        – เก็บและเอาของเหลวคืนกลับมาใช้ใหม่ถ้าเป็นไปได้

        – ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ

        – เก็บรวบรวมของเหลงในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมหรือดูดซับด้วนวัตถุเฉื่อย เช่น แร่หินทราย (vermiculite) ทรายแห้ง (earth) และเก็บภาชนะบรรจุกากของเสียจากเคมี

        – อย่าใช้วัสดุติดไฟได้ เช่น ขี้เลื่อย

        – อย่าฉีดล้างลงไปท่อระบายน้ำ

        – ต้องมีการรายงานถ้ามีปริมาณสูงกว่าปริมาณที่กำหนดในการรายงาน

        การกำจัด : ปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
 12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12309291_10207269044297862_182124300_n 12286194_10207269044497867_168388570_n

        ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : การเลือกประเภทถุงมือ

               – แนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Laminated film ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 480 นาที และควรมีอัตราการเสื่อมสภาพของถุงมือ (Degradation Rating) อยู่ในระดับดีมาก และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Nitrile ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และควรมีอัตราการเสื่อมสภาพของถุงมือ (Degradation Rating) อยู่ในระดับดีมาก และแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Unsupported Neoprene ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 480 นาที และควรมีอัตราการเสื่อมสภาพของถุงมือ (Degradation Rating) อยู่ในระดับดีมาก และ แนะนำให้ใช้ถุงมือที่ทำมาจากวัสดุประเภท Supported Polyvinyl Alcohol ซึ่งควรมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดการซึมผ่านผนังของถุงมือ (Permeation Breakthrough time) มากกว่า 360 นาที และควรมีอัตราการเสื่อมสภาพของถุงมือ (Degradation Rating) อยู่ในระดับดีมาก และถุงมือที่ทำจากวัสดุไวนิล 45 นาที อยู่ในระดับดี

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
         หายใจเข้าไป :     ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปสู่อากาศที่บริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย และนำส่งไปพบแพทย์

        กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป ให้กระตุ้นทำให้อาเจียนโดยทันทีโดยบุคคลากรทางการแพทย์ ห้ามให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยหมดสติ นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อนสารเคมีใด ๆ ออก ล้างผิวหนังด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 15 นาที ถ้าเกิดอาการระคายเคืองขึ้นให้นำส่งไปพบแพทย์

        สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างน้อย 15 นาที กระพริบตาถี่ ๆ และนำส่งไปพบแพทย์

        อื่นๆ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
         ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

        – ไม่ก่อให้เกิดผลต่อระบบนิเวศน์ หากมีการใช้และจัดการกับผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  5523

        OSHA NO. :    PV 2024

        วิธีการเก็บตัวอย่าง :      กระดาษกรอง

        วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

        ข้อมูลอื่น ๆ :  

                – การเก็บตัวอย่างใช้ glass fiber filter 13 mm; XAD – 7; 200 mg/100 mg

                – อัตราไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง : 0.5 ถึง2 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
        AVERS Guide :     

        DOT Guide :          –

        – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

        – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557

 

2-Methyl-2-propanol

ส่วนที่ 1ชื่อสารเคมีและข้อมูลเบื้องต้น
         ชื่อเคมี IUPAC   2-Methyl-2-propanol

         ชื่อเคมีทั่วไป     Tert-Butyl alcohol ; T-Butanol

         ชื่อพ้องอื่นๆ      1,1-Dimethylethanol; Trimethylcarbinol; 2-Methylpropan-2-ol; Tert-Butanol; TBA; T-butyl hydroxide; Trimethyl methanol; Dimethylethanol; Methyl-2-propanol; Tertiary-butyl alcohol

         สูตรโมเลกุล      C4H10O

         สูตรโครงสร้าง        12270550_10207247592361577_1372864339_n

         รหัส IMO     12286089_10207247452278075_1668521281_n

         CAS No.        75-65-0

         รหัส EC NO.    603-005-00-1

         UN/ID No.      1120             

         รหัส RTECS     EO 1925000

         รหัส EUEINECS/ELINCS         200-889-7

         ชื่อวงศ์  Tertiary aliphatic alcohol/ tertiary alkanol/ tertiary alkyl alcohol

         ชื่อผู้ผลิต/นำเข้า           –

         แหล่งข้อมูลอื่นๆ CHEMINFO

ส่วนที่ 2: องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
         ส่วนประกอบ:

         ชื่อ          CAS #          น้ำหนักร้อยละ
         –          75-65-0          –
ส่วนที่ 3: การใช้ประโยชน์
         การใช้ประโยชน์ : ใช้ในการทำแอลกอฮอล์ให้เป็นกลาง ตัวทำลายในการผลิตยา เป็นสาร dehydration agent ใช้ในการทำน้ำหอม เป็นสารตัวกลางเคมี ทำสี ใช้ในการเตรียมเมทิลเมทาไลเลต
ส่วนที่ 4: ค่ามาตรฐานและความเป็นพิษ
          LD50(มก./กก.) : 3500(มก./กก.)

         LC50(มก./ม3) :     –

         IDLH(ppm) :    1600 (ppm)

         ADI(ppm) :      –

         MAC(ppm) :    –

         PEL-TWA(ppm) :       100 (ppm)

         PEL-STEL(ppm) :      –

         PEL-C(ppm) :       –

         TLV-TWA(ppm) :       100 (ppm)        

         TLV-STEL(ppm) :   –

         TLV-C(ppm) :      –

         พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 :      –

         พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535  :         –

         พรบ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 :                –

         พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  :   –

         พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 :          

         หน่วยงานที่รับผิดชอบ :            –

ส่วนที่ 5: คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
         สถานะ : ของเหลว

         สี : ไม่มีสี

         กลิ่น : เหมือการบูร

         นน.โมเลกุล :   74.12

         จุดเดือด(0ซ.) :  83

         จุดหลอมเหลว/จุดเยือกแข็ง(0ซ.) : 25.5

         ความถ่วงจำเพาะ(น้ำ=1) :        0.786

         ความหนาแน่นไอ(อากาศ=1) :    2.55

         ความหนืด(mPa.sec) :    3.35

         ความดันไอ(มม.ปรอท) :  31 ที่ 200ซ.

         ความสามารถในการละลายน้ำที่(กรัม/100 มล.) :  –

         ความเป็นกรด-ด่าง(pH) :  เป็นกลาง

         แฟคเตอร์แปลงหน่วย 1 ppm =    3.03

         มก./ม3 หรือ 1 มก./ม3 =         0.33 ppm ที่ 250ซ.

         ข้อมูลทางกายภาพและเคมีอื่น ๆ :   ละลายในเอทานอล และอีเธอร์

มาตรา 6: อันตรายต่อสุขภาพอนามัย
         สัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดการระคายเคืองจมูกและคอ ทำให้ปวดศีรษะ วิงเวียน งง และหมดสติ กดระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าสารเข้าไปในปอด ทำให้ปอดอักเสบ ทำให้หัวใจล้มเหลว

         สัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสถูกผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคืองบวม เป็นผื่นแดง

         กินหรือกลืนเข้าไป การกลืนหรือกินเข้าไปจะทำให้ปวดศีรษะ วิงเวียน หมดสติ

         สัมผัสถูกตา การสัมผัสถูกตาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา

         การก่อมะเร็ง ความผิดปกติ อื่นๆ สารนี้ดูดซึมเข้าไปในเลือด แต่สามารถขับออกมาทางลมหายใจและปัสสาวะ และสารนี้ทำลายประสาท ตับ

มาตรา 7: ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา
          ความคงตัว : สารนี้มีความเสถียร

         สารที่เข้ากันไม่ได้ : สารออกซิไดซ์อย่างแรง ทำให้เกิดการระเบิด โลหะผสมโพแทสเซียม โซเดียม เกิดการจุดติดไฟ กรดแร่แก่ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ กรดซัลฟูริก

         สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ประจุไฟฟ้าสถิตย์ ประกายไฟ เปลวไฟ และแหล่งจุดติดไฟ

         สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว : ไม่ระบุไว้

         อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ : จะไม่เกิดขึ้น

         การกัดกร่อนของโลหะ : ไม่เกิดการกัดกร่อน

มาตรา 8: การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
          จุดวาบไฟ(0ซ.) :             11

         จุดลุกติดไฟได้เอง(0ซ.) :    478

         ค่า LEL % :     2.4

         UEL % :        8

         NFPA Code :   12277993_10207269065218385_747999914_n

          สารดับเพลิง : ให้ใช้โฟมแอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้ง

          – สารนี้ไวไฟ

          – ส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศสามารถทำให้เกิดการระเบิดที่อุณหภูมิมากกว่า 11 องซาเซลเซียส

          – ไอระเหยของสารสามารถแพร่กระจายออกไปถึงแหล่งจุดติดไฟและอาจเกิดการติดไฟและอาจเกิดการติดไฟย้อนกลับมา

          – น้ำใช้ในการดับเพลิงไม่ได้ผล ไม่สามารถทำให้สารเย็นเพราะมีจุดวาบไฟต่ำ

          – สารเคมีอันตรายจากการเผาไหม้ : คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ Isobutydene

          – ใช้น้ำฉีดหล่อเย็นเพื่อหล่อเย็นภาชนะบรรจุที่สัมผัสเพลิงไหม้

          – กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA)

มาตรา 9: การเก็บรักษา สถานที่เก็บ เคลื่อนย้าย ขนส่ง
          การเก็บรักษา :

                    – เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด

                    – เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง

                    – เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ

         สถานที่เก็บ :

                    – เก็บแยกจากสารไวไฟ การจุดสูบบุหรี่ ไม้ขีดไฟ แหล่งจุดติดไฟ

                    – เก็บแยกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

                    – ต่อภาชนะบรรจุลงดินและใช้อุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ

                    – บริเวณที่เก็บสารควรแยกจากบริเวณที่ทำงาน

                    – อย่าเก็บสารไว้ใกล้ทางออก

                    – ติดป้ายเตือนอันตราย

                    – มีอุปกรณ์กับเพลิงและอุปกรณ์ทำความสะอาดในบริเวณเก็บสารเคมี

                    – ให้สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ให้ไว้สำหรับสารนี้

                    – เก็บไว้ในอุณหภูมิที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด

                    – หลีกเลี่ยงการเกิดฝุ่น

                    – ควรมีการทำความสะอาดบริเวณเก็บสารเคมี

                    – ไม่ควรมีการตัด เชื่อม จุดบริเวณใกล้สารเคมี

                    – อย่าใช้สารร่วมกับสารที่เข้ากันไม่ได้

                    – ติดฉลากที่ภาชนะบรรจุ

                    – อย่านำสารที่ใช้แล้วนำกลับไปใส่ภาชนะบรรจุใหม่

         ข้อมูลการขนส่ง :

                   ชื่อในการขนส่ง : ไม่ระบุไว้

                  ประเภทอันตราย : ไม่ระบุไว้

                  หมายเลข UN : ไม่ระบุไว้

                  ประเภทการบรรจุหีบห่อ : ไม่ระบุไว้

                  ขนาดผลิตภัณฑ์ : ไม่ระบุไว้

มาตราที่ 10: การกำจัดกรณีรั่วไหล
           – อย่าเข้าไปในบริเวณสารหกรั่วไหลจนกว่าจะมีการทำความสะอาดเสร็จ

          – ทำความสะอาดโดยบุคคลที่มีความชำนาญ

          – ย้ายแหล่งจุดติดไฟออกจากบริเวณสารหกรั่วไหล

          – ให้หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยปราศจากความเสี่ยงอันตราย

          – ระบายอากาศบริเวณสารรั่วไหล

          – ป้องกันไม่ให้สารเคมีที่หกรั่วไหล ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ แม่น้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ

          – ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยทราย ดิน หรือวัสดุดูดซับที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสาร

          – เก็บส่วนที่หกรั่วไหลในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิดเพื่อนำไปกำจัด

          – ล้างบริเวณสารหกรั่วไหล หลังจากสารเคมีถูกเก็บกวาดเรียบร้อยแล้ว

           การกำจัด : ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด

มาตรา 11: อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
12305827_10207269043297837_1584498643_n 12277978_10207269044017855_554821809_n 12309291_10207269044297862_182124300_n 12286194_10207269044497867_168388570_n

ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PPD/PPE) : ประเภทหน้ากากป้องกันระบบหายใจ

       – สารที่ช่วงความเข้มข้นไม่เกิน 1000 ppm : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจประเภทที่ใช้การส่งอากาศสำหรับการหายใจ ซึ่งมีอัตราการไหลของอากาศแบบต่อเนื่อง โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อม Cartridge สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 25 หรือ ให้เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ซึ่งใช้สารเคมีประเภทที่เหมาะสมเป็นตัวดูดซับในการกรอง (Cartridge) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

       – ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือการเข้าไปสัมผัสกับสารที่ไม่ทราบช่วงความเข้มข้น หรือการเข้าไปในบริเวณที่มีสภาวะอากาศที่เป็น IDLH : ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดที่มีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000 หรือ ให้ใช้อุปกรณ์ส่งอากาศสำหรับการหายใจ (Supplied – air respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า ซึ่งมีการทำงานแบบความดันภายในเป็นบวก ( pressure-demand / positive pressure mode) หรือ แบบที่ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว และแบบความดันภายในเป็นบวก (combination with an auxiliary self-contained positive-pressure breathing apparatus) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 10,000

       – ในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน : ให้ใช้อุปกรณ์ทำให้อากาศบริสุทธิ์ (Air – purifying respirator) พร้อมหน้ากากแบบเต็มหน้า (gas mask) ซึ่งมี Canister สำหรับป้องกันไอระเหยของสารอินทรีย์ หรือให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับในกรณีการหลบหนีออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมอุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัว (SCBA) โดยแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่มีค่า APF. = 50

มาตรา 12: การปฐมพยาบาล
                   หายใจเข้าไป : ถ้าหายใจเข้าไปให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์ทันที

                  กินหรือกลืนเข้าไป : ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป ห้ามไม่ให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ผู้ป่วยบ้วนล้างปากด้วยน้ำ อย่ากระตุ้นให้เกิดการอาเจียนให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 240-300 ml เพื่อเจือจางสารในท้อง ถ้าเกิดอาการอาเจียน นำส่งไปพบแพทย์ทันที

                  สัมผัสถูกผิวหนัง : ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 20 นาที หรือจนสารเคมีออกหมดนำส่งไปพบแพทย์ทันที ซักทำความสะอาดเสื้อผ้า และรองเท้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

                  สัมผัสถูกตา : ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 20 นาที หรือจนกว่าสารเคมีออกหมด ใช้นิ้วถ่างแยกเปลือกตาออก ถ้าให้น้ำล้างตาไหลมาโดนตาไม่ได้โดนสารเคมี นำส่งไปพบแพทย์ ถ้ายังมีอาการระคายเคือง

                  อื่นๆ : ไม่ระบุไว้

มาตรา 13: ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
 ข้อมูลทางนิเวศวิทยา :

         – ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดิน

         – จะไม่ก่อเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากมีการใช้และจัดการกับสารอย่างเหมาะสม

มาตรา 14: การเก็บและวิเคราะห์
         NMAM NO. :  1400

         OSHA NO. :    07

         วิธีการเก็บตัวอย่าง :      หลอดเก็บตัวอย่าง

         วิธีการวิเคราะห์ :          แก๊ซโครมาโตกราฟฟี

         ข้อมูลอื่น ๆ : 

         – การเก็บตัวอย่างใช้ coconut shell charcoal 100 mg./50 mg.

         – อัตราการไหลสำหรับเก็บตัวอย่าง 0.01 ถึง 0.2 ลิตรต่อนาที

         – ปริมาตรเก็บตัวอย่างต่ำสุด-สูงสุด 1 ลิตร , 10 ลิตร

มาตรา 15: ขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน
         AVERS Guide :          16

         DOT Guide :               129

         – กรณีฉุกเฉินโปรดใช้บริการระบบให้บริการข้อมูลการระงับอุบัติภัยจากสารเคมีทางโทรศัพท์หรือสายด่วน AVERS ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1650

         – ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ กองจัดการสารอันตรายและกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ โทร 0 2298 2447,0 2298 2457

มาตรา 16: ข้อมูลอื่น ๆ
        อ้างอิง: กรมควบคุมมลพิษ 2557 ศูนย์ข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ MSDS Database (ออนไลน์)

        แหล่งที่มา http://msds.pcd.go.th ธันวาคม 2557